MuseumSiam Recommendations
Permanent URI for this community
Browse
Browsing MuseumSiam Recommendations by Issue Date
Now showing
1 - 24 of 128
Results Per Page
Sort Options
-
Itemแนะนำหนังสือ : เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ [GT3278 ส765 2560]( 2021-10-14) สุจิตต์ วงษ์เทศพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ซึ่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ยังความเสียใจแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดไม่ได้ และเมื่อวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง วันนี้ ห้องคลังความรู้ขอเชิญทุกท่านหวนรำลึกถึงคติ ความเชื่อ ของการสร้างงานพระเมรุมาศของในหลวงรัชกาลที่ 9 กันครับ หนังสือ “เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ” เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความจากนักวิชาการ 19 ท่าน ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรมหลังความตาย โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน คือ 1. คติความเชื่อหลังความตาย ที่จะทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงคติความเชื่อ พิธีกรรมหลังความตายที่แตกต่างกัน ระหว่างพิธีศพสามัญชนกับเจ้านาย 2. พิธีกรรมต่างๆ ในระหว่างการตั้งพระบรมศพ และการปฏิบัติตนของผู้ที่มีชีวิตในอดีต ทั้งพิธีพุทธและ พิธีกงเต๊กหลวง รวมไปถึงการประโคมย่ำค่ำ 3. กระบวนการแห่พระบรมศพและพระเมรุ ที่มีการสืบค้นผ่านภาพวาดริ้วกระบวนแห่งานพระบรมศพของสมเด็จพระเพทราชา 4. การถวายพระเพลิงและพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายหลัง ทุกท่านจะได้เห็นกระบวนพระราชพิธีตั้งแต่โบราณ ที่ใช้การเผาด้วยท่อนจันทน์ และการเก็บพระบรมอัฐิ จากการนำไปลอยน้ำสู่การเก็บไว้ยังใต้ฐานพระ งานพระราชพิธีพระบรมศพ ถือเป็นพิธีสำคัญที่สะท้อนถึงความเชื่อของการเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งในอดีตงานพระราชพิธีเหล่านี้จะมีแค่ผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะมีโอกาสได้ศึกษา ได้รู้ ได้เห็น หนังสือเล่มนี้จะทำให้ทุกท่านได้ศึกษาพระราชพิธีเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ท่านผู้อ่านที่สนใจ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม เพื่อรับบริการยืม-คืนหนังสือผ่านไปรษณีย์ หรือหากห้องคลังความรู้พร้อมเปิดให้บริการในพื้นที่ได้แล้ว จะมาใช้บริการอ่านที่ห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม ทางเราก็ยินดีให้ บริการครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : Lords of Things : The Fashioning of the Siamese Monarchy's Modern Image [JQ1746 P4 2002]( 2021-10-21) Maurizio Peleggi23 ตุลาคม วันปิยมหาราช ครบรอบ 111 ปี วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ห้องคลังความรู้ขอแนะนำหนังสือเรื่อง “Lords of Things : The Fashioning of the Siamese Monarchy's Modern Image” “Lords of Things” นำเสนอการตีความเกี่ยวกับการพัฒนาสู่ความทันสมัยของสยามประเทศของรัชกาลที่ 5 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ผ่านหลักฐาน แหล่งเนื้อหา และบริบทใหม่ๆ มาอภิปรายในเชิงทฤษฎี โดยมุ่งเน้นไปที่การครอบครองวัตถุที่ล้ำยุค แนวทางการปฏิบัติทางสังคมโดยกลุ่มชนชั้นสูง และการสร้างภาพลักษณ์ในระยะแรกของยุคโลกาภิวัตน์ โดยพิจารณาจากกระแสบริโภคนิยมตามแบบชาติตะวันตก สถาปัตยกรรม และการนำเสนอตนเองต่อสาธารณชนโดยข้าราชสำนัก เพื่อการสร้างอัตลักษณ์ในฐานะอารยชน หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนักประวัติศาสตร์ไทยและนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมในมิติของสถาบันและกระบวนการทางเศรษฐกิจ หรือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระแสวัฒนธรรมข้ามชาติ การล่าอาณานิคม ประเพณีนิยม และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภค และ การสร้างตัวตนในยุคสมัยใหม่ หากผู้อ่านท่านใดสนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถสมัครสมาชิกยืมคืนหนังสือจากห้องคลังความรู้ หรือมาใช้บริการอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยามนะครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : ศิลปะ-สถาปัตยกรรม คณะราษฎร [NA1521 .ช647 2552]( 2021-10-28) ชาตรี ประกิตนนทการตุลาคม เป็นในเดือนที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในอดีต นอกเหนือจากเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางการเมืองแล้ว นายกบแดงอยากชวนอ่านหนังสือที่พูดถึงสถาปัตยกรรมที่ซ่อนความเป็นการเมืองไว้ ที่ถูกผู้คนหลงลืมตลอดหลายปีที่ผ่านมา หลังหมดยุคของคณะราษฎร ซึ่งถูกมองข้ามว่าไม่สวยงาม ไร้ค่าคุณค่า และหลายสถานที่ถูกดัดแปลงรื้อถอนในที่สุด หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในช่วง พ.ศ. 2475-2490 กล่าวถึงการใช้สถาปัตยกรรมในการแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงที่มีการเฉลิมฉลองพระนครครบ 150 ปี ที่มีการสร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันสำคัญ เช่น สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอนุสาวรีย์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ ที่ผู้เขียนได้ตีความว่า “งานฉลองพระนครครั้งนั้น ในเชิงการเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความคิดทางการเมืองของรัชกาลที่ 7 และกลุ่มเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ภายใต้บริบททางสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างการรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับการเรียกร้องระบบประชาธิปไตยที่กำลังท้าทายชนชั้นนำสยามขณะนั้นมากขึ้นทุกทีๆ” หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งปัจจุบันจะไม่มี การจัดขึ้นแล้ว แต่ถือได้ว่าเป็นงานฉลองระบบการปกครองที่ยิ่งใหญ่ โดยมิใช่จัดเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ซ่อนสัญลักษณ์ทางการเมืองไว้ ผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่อยู่ในงาน ทั้งซุ้มประตูทางเข้างาน อาคาร ห้างร้าน ที่สร้างในรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ดูทันสมัยและแปลกตา เสมือนได้ก้าวเข้าสู่บ้านเมืองยุคใหม่ที่เจริญก้าวหน้าภายใต้สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ และหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร เนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้นำเสนอและเขียนให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างสถาปัตยกรรมที่แอบซ่อนความหมายทางการเมืองไว้ ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายทศวรรษได้ถูกมองข้ามไป หากผู้อ่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ เพื่อสมัครสมาชิก และรับบริการยืมอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้เลยครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย [NA6021 ส234ร 2554]( 2021-11-04) รศ. สมคิด จิระทัศนกุลเมื่อเราพูดถึง “วัด” สิ่งที่เรานึกถึงคือการไปทำบุญ ไหว้พระ ขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การได้ท่องเที่ยวชมสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามของวัด เช่น วิหาร โบสถ์ เจดีย์ เป็นอันดับต้นๆ แต่ผู้คนมากมายก็ยังไม่ทราบถึงความหมาย ความเป็นมา รูปแบบ ของสิ่งก่อสร้างที่ได้กล่าว และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในวัด ที่ผู้คนได้มองข้าม แต่สิ่งเหล่านี้ได้ล้วนมีความหมาย ที่มา เหมือนกันครับ วันนี้ห้องคลังความรู้ขอแนะนำหนังสือที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน รายวิชาพื้นฐานสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนที่เวลาต่อมาจะได้รับความสนใจจากประชาชน มหาวิทยาลัยต่างๆ จนได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ จนถึงการพิมพ์ครั้งที่ 4 โดยเนื้อหาในหนังสือว่าด้วยเรื่องราวของ ความหมาย ที่มา และชื่อเรียก ที่เกี่ยวข้องกับ “วัด” นอกจากนั้น ยังรวมถึงพุทธสถาปัตยกรรมไทยที่ปรากฏอยู่ในวัด ซึ่งในอาณาบริเวณวัดประกอบด้วยเขตใหญ่ 3 เขต คือ 1. เขตพุทธาวาส เป็นส่วนที่สำคัญสุดของวัด ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับพระสงฆ์ ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ผ่านสถาปัตยกรรม เช่น วิหาร อุโบสถ เจดีย์ เสมือนสัญลักษณ์ที่ประทับของพระพุทธเจ้า 2. เขตสังฆาวาส เป็นเขตพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับ พิธีการใดทางศาสนา ผ่านสถาปัตยกรรม เช่น กุฏิ เวจกุฎี ห้องสรงน้ำ หอไตร ฯลฯ 3. เขตธรณีสงฆ์ เป็นพื้นที่ที่เหลือจากการแบ่งเขตวัด คือ เขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เป็นเขตพื้นที่สำหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยในเชิงเขตพื้นที่สาธารณประโยชน์ โดยมีสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมอย่างเช่น เมรุ สำหรับฌาปนกิจศพ หรือโรงเรียน สำหรับเป็นที่ให้การศึกษา ฯลฯ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายที่มา ความหมาย และศิลปกรรมของพุทธสถาปัตยกรรมทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้น ตั้งแต่สถาปัตยกรรมในอดีตจนพัฒนาสู่สมัยใหม่ พร้อมนำเสนอด้วย ภาพถ่าย แผนผัง ลายเส้น ภาพวาดประกอบ และมีลูกศรชี้อธิบายให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจพุทธสถาปัตยกรรมภายในวัดทั้งหมดได้โดยง่าย หากผู้อ่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ เพื่อสมัครสมาชิก และรับบริการยืมอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้เลยครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [GT 5010 .จ736 2552]( 2021-11-18) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เดือนสิบสองน้ำนองตลิ่ง วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ วันลอยกระทงนี้ ในพระราชพิธีสิบสองเดือน เขียนถึงการลอยพระประทีปในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 “การลอยประทีปในเดือน 12 ด้วยอากาศปราศจากฝน ในฤดูเดือนสิบสองเป็นเวลาที่แม่น้ำใสสะอาดและมากเต็มสองฝั่ง ในกลางเดือนนั้นพระจันทร์ก็มีแสงสว่างผ่องใส เป็นสมัยที่สมควรจะรื่นเรงในลำน้ำในเวลากลางคืน พระเจ้าแผ่นดินจึงได้เสด็จลงประพาสตามลำน้ำพร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายใน เป็นประเพณีมีมาแต่กรุงสุโขทัยฝ่ายเหนือโน้นแล้ว” ”กระทงหลวง ซึ่งสำหรับลอยที่มีมาแต่เดิมนั้น คือ เรือรูปสัตว์ต่างๆ เรือศรี เรือชัย เรือโอ่ เรือคอน และมีเรือหยวกติดเทียน 2 เล่ม ธูปดอก 1 ห้าร้อย” ในหนังสือที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์นี้จะทำให้เห็นถึงบรรยากาศงานลอยพระประทีป ในสมัยนั้น การตกแต่งเรือพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกกรม ตลอดจนเรือสำเภาของพ่อค้าเศรษฐี ที่มาร่วมงานลอยพระประทีปที่มีการตกแต่งประดับประดาประกวดประชันกันอย่างสวยงามเต็มแม่น้ำ ในโอกาสวันลอยกระทงที่จะถึงนี้ เพื่อนๆ สามารถมาอ่านหนังสือหรือยืมพระราชพิธีสิบสองเดือนเล่มนี้กันได้ที่ห้องคลังความรู้ สุขสันต์วันลอยกระทงครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : ย่ำตรอก ซอกซอย บน ถนนข้าวสาร [DS 589.ก44 ป46 2550]( 2021-11-25) ปรารถนา รัตนะสิทธิ์หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายประเทศร่วมถึงประเทศไทย ต้องทำการปิดประเทศ ส่งผลกระทบทั้งด้านการท่องเที่ยวและการบริการต้องหยุดชะงักไป สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยมีนักท่องเที่ยวมากมายกลับกลายเป็นเงียบเหงาไร้ผู้คนอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะถนนข้าวสาร แหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างรู้จักและเดินทางเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย จนวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศเปิดประเทศ ทำให้ถนนข้าวสารที่เงียบเหงากลับมาครึกครื้นอีกครั้ง วันนี้ห้องคลังแห่งความรู้ขอนำเสนอ หนังสือเรื่อง “ ย่ำตรอก ซอกซอยบนถนนข้าวสาร” เรื่องเล่าจากผู้เขียนที่มีความผูกพันกับถนนข้าวสาร ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยจนกลายเป็นหัวข้อทำสารนิพนธ์ก่อนจบ วัยทำงานก็ยังเดินวนเวียนผ่านถนนข้าวสารตลอด ทำให้เห็นถึงการเปลื่ยนแปลงของสถานที่และผู้คน เนื้อหาในหนังสือจะเล่าถึงจุดกำเนิดที่มาของถนนข้าวสารที่มีความยาวเพียงแค่ 400 เมตร แต่กลับมีเรื่องราวเรื่องเล่ามากมายผ่านรุ่นต่อรุ่น จากคลอง ที่ถูกถมกลายมาเป็นถนน ที่มาของถนนข้าวสาร ที่ในอดีตเต็มไปด้วยร้านขายข้าวสาร ร้านขายของชำและร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์และอัฐบริขารที่เป็นที่รู้จักกันทั่วในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ก่อนที่จะกลายเปลื่ยนมาเป็นเกสต์เฮ้าล์ที่แสนสงบและถูกเพิ่มเติมด้วยสถานบันเทิงในเวลาต่อมา และเป็นจุดที่ทำให้ถนนข้าวสารมีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในปัจจุบัน ซึ่งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่เราต้องการให้เห็นถึงความเปลื่ยนแปลงของถนนข้าวสารผ่านหนังสือเล่มนี้ หากท่านสนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถยืมอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม โดยท่านติดต่อเพื่อสมัครสมาชิก หรือมาใช้บริการนั่งอ่านได้เลยครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : นักเดินทางชาวสยาม [G463 .อ37 2562](สำนักพิมพ์แสงดาว, 2021-12-02) เอนก นาวิกมูลเข้าเดือนธันวาคม ใกล้สิ้นปีเข้ามาแล้ว เพื่อน ๆ ส่วนใหญ่มีแผนการไปท่องเที่ยวให้รางวัลกับชีวิตตนเองกันอย่างไรบ้างครับ ห้องคลังความรู้ชวนมาอ่านเรื่องราวของการเดินทางของคนไทยสมัยก่อนกันครับ คนสมัยนั้นเขาไปท่องเที่ยวเดินทางกันอย่างไร จากหนังสือ “นักเดินทางชาวสยาม” ที่รวมเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ของคนไทยยุคเก่า 11 เรื่อง "ด้วยว่าคนไทยสมัยก่อนนั้น ไม่ค่อยได้เดินทางไปไกลบ้านเหมือนฝรั่งซึ่งมีจิตวิญญาณเป็นนักสำรวจ อาจเป็นเพราะคนยุคโน้นต้องทำนา ทำไร่ และต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นไพร่หลวง เกณฑ์เป็นทหาร ซึ่งเป็นการผูกมัด การท่องเที่ยวเท่าที่พอจะทำได้ คือ การไปไหว้พระ ทำบุญตามเทศกาล หน้าแล้งกับหน้าน้ำ เช่น ไปไหว้พระพุทธบาท การไปทอดกฐินหรือการตามรอยสัตว์ของนายพราน ดังนั้น บันทึกการเดินทางเล่มนี้ เป็นบันทึกที่ผู้เขียนได้รวบรวมจากเอกสารหนังสือพิมพ์เก่าจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่มีบันทึกเล่าเกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยยุคนั้น ทั้งที่ไปโดยตั้งใจหรือไปโดยบังเอิญก็แล้วแต่ ล้วนได้ประสบเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้น เห็นวิถีชีวิตบ้านเมืองที่แตกต่างออกไปจากเรา ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าติดตามอ่าน” เช่น เรื่องการเผชิญโชคของนายทองคำซึ่งสมัครเป็นกะลาสีเรือเพื่อหาโอกาสไปเห็นโลกภายนอกในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือเรื่องของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ตฤษณานนท์ ไปเมืองแขก-ญวน-จีน เพื่อหาซื้อข้าวของมาสำหรับงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม) ซึ่งจัดที่สนามหลวง ในปี พ.ศ. 2424 เป็นต้น เช่นเคยครับ ท่านสามารถยืมหรือมานั่งอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้ ชั้น 2 อาคารสำนักงาน มิวเซียมสยาม ขอให้ทุกท่านมีแพลนการท่องเที่ยวสำหรับสิ้นปีนี้กันอย่างสนุกสนานครับ ท่องเที่ยวปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 กันนะครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : รัฐธรรมนูญ ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนาและการเปลี่ยนผ่าน [KPT 2070.ป66 2559]( 2021-12-09) ปิยบุตร แสงกนกกุลเวลาเราพูดถึงหนังสือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เรามักนึกถึงข้อมูลอธิบายเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ แต่หนังสือของผู้เขียนเล่มนี้ ได้โน้มนำไปถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญในประวัติศาสตร์สังคมการเมืองของมนุษย์ “ประชาชน” เป็นการสร้างมาหรือสถาปนาจากประชาชน ซึ่งผู้เขียนกล่าวอ้างถึงคำว่า “อำนาจปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญ” คำนี้เป็นคำที่ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คิดขึ้นมาใช้ หมายถึง อำนาจแห่งการริเริ่ม อันไร้ขอบเขตข้อจำกัดและเป็นอิสระ เพื่อใช้ก่อตั้งระบอบการเมือง-ระบบกฎหมายขึ้นในห้วงเวลาที่ปราศจากระบอบการเมือง-ระบบกฎหมาย ในห้วงเวลาที่ระบอบการเมืองหนึ่งก่อตั้งขึ้นและดำรงอยู่อย่างปกติ อำนาจปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญจะไม่มีทางเกิดขึ้นและปรากฎกายได้ มันจะเผยโฉมออกมาให้เราเห็นก็ต่อเมื่อเกิดการทำลายระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่ให้ดับสูญลงและก่อตั้งระบอบการเมืองใหม่ขึ้นแทนที่ ในยุคสมัยใหม่ ประชาชน คือ ผู้ทรงอำนาจปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญ หาใช่พระเจ้าหรือกษัตริย์ไม่ ประชาชนจึงเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจกำหนดระบอบการเมืองใหม่ขึ้นตามที่พวกเขาปรารถนา โดยแสดงออกในรูปของ “รัฐธรรมนูญ” ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าอ่านหรือยืมหนังสือเล่มนี้ได้ที่ห้องคลังความรู้ ชั้น 2 มิวเซียมสยาม อาคารสำนักงานครับ
-
Itemปั้นชา เสน่หางานศิลป์แห่งดินปั้น( 2021-12-15) นพพร ภาสะพงส์อากาศในยามนี้เย็นลง ทำให้นึกถึงเครื่องดื่มร้อนๆ ที่อยู่คู่กับมนุษย์มายาวนานก็ต้องมี น้ำชา ที่เราทุกคนนึกถึงเป็นเครื่องดื่มแรกๆ เพราะ ชา เป็นพันธุ์พืชที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมการดื่มของมนุษย์มายาวนาน มีค่านิยมของแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น ชาวตะวันตกมีวัฒนธรรมการจิบน้ำชาในช่วงบ่าย หรือ ชาวจีนนิยมจิบน้ำชาจนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันของชาวจีนมาเนิ่นนาน เนื่องในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาเป็น วันชาสากล ห้องคลังความรู้ขอเสนอ เรื่องราวของสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของการดื่มชา ก็คือ ปั้นชา หรือคนส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า กาน้ำชา หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า “ปั้นชา เสน่หางานศิลป์แห่งดินปั้น” เล่าถึงความชอบของผู้เขียนที่ได้สะสมความรู้เกี่ยวกับตัวปั้นชา ในด้านประวัติความเป็นมาของปั้นชา ที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดในสมัยฮ่องเต้ซวนอู่ ของราชวงศ์ฮั่น นอกจากนั้นยังกล่าวถึงช่างปั้นคนสำคัญของจีนในแต่ละยุครวมถึงลักษณะรูปภาพของ ปั้นชา ที่มีลักษณะรูปทรงที่เด่นแตกต่างกันออกไปในแต่ละยุค เช่น ช่างปั้นสมัยสาธารณรัฐ จีนเปลืยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ในยุคนี้ปั้นชามีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ น้อยมากแต่มีผลงานบางชิ้นได้ส่งประกวดงานศิลปะที่ต่างประเทศและได้รับรางวัลกลับมา
-
Itemแนะนำหนังสือ : สมุดภาพประวัติสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2482-2559 : ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัดยุติธรรม [HG 6242.55 ส47 2559](สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, 2021-12-30) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล30 ธันวาคม 2564 วันลอตเตอรี่ออกสิ้นปี นิทรรศการ หวยแหลก แตกประเด็น ยังคงจัดแสดงที่มิวเซียมสยามถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ก่อนวันสิ้นปี วันสุดท้ายแห่งการทำงานของใครหลายๆ คน เรามาดูสมุดภาพประวัติสลากกินแบ่งกันครับ สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยปี พ.ศ. 2417 สมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จากชื่อว่า "ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม" เปลี่ยนมาเป็น "สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล" หรือ "สลากกินแบ่งบำรุงฉลองรัฐธรรมนูญ" "สลากกินแบ่งรัฐบาลไทย" จนถึงคำว่า "สลากกินแบ่งรัฐบาล" หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้และการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกิจการสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทย รวมทั้งวิวัฒนาการการพิมพ์ รูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ของผู้ที่สะสมหรือสนใจศึกษาประวัติสลากกินแบ่งรัฐบาล ขอให้ทุกท่านโชคดีในวันทำงานสุดท้ายของปีนี้กันครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ : สมุดภาพประวัติสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ.2482-2559 ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัดยุติธรรม [HG 6242.55 ส47 2559]( 2021-12-30)30 ธันวาคม 2564 วันลอตเตอรี่ออกสิ้นปี นิทรรศการ หวยแหลก แตกประเด็น ยังคงจัดแสดงที่มิวเซียมสยามถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ก่อนวันสิ้นปี วันสุดท้ายแห่งการทำงานของใครหลายๆคน เรามาดูสมุดภาพประวัติสลากกินแบ่งกันครับ สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยปีพ.ศ.2417 สมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จากชื่อว่า “ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม” เปลี่ยนมาเป็น “สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล” หรือ “สลากกินแบ่งบำรุงฉลองรัฐธรรมนูญ” “สลากกินแบ่งรัฐบาลไทย” จนถึงคำว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้และการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับกิจการสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทยรวมทั้งวิวัฒนาการการพิมพ์ รูปแยบบสลากกินแบ่งรัฐบาล ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ของผู้ที่สะสมหรือสนใจศึกษาประวัติสลากกินแบ่งรัฐบาล ขอให้ทุกท่านโชคดีในวันทำงานสุดท้ายของปีนี้กันครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ:ชาติเสือไว้ลาย[HV 6453.ท9 พ 67 2551]( 2022-01-06) พีรศักดิ์ ชัยได้สุขหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนที่ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เรื่อง “โจร” ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางยุคการปฏิรูปการปกครอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีการศึกษา 2545 แม้ว่าเวลาจะผ่านมานานเกือบ 20 ปี แต่ความสัมพันธ์ของ “โจร” “ผู้มีอิทธิพล” กับ “อำนาจ” และ “ระบบอุปถัมภ์” ก็ยังมีมากขึ้นไม่ลดลง คำว่า เสือ ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง สัตว์ป่า แต่ความหมายอุปมาคือ โจร ซึ่งหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป มักจะเขียนถึงตัวเอกในลักษณะเป็นพระเอก หรือการเขียนที่เน้นไปถึงบุคคลที่เป็นหัวหน้าของสังคมหรือประเทศ ส่วนการเขียนถึงผู้ร้าย ก็มักจะมีน้อย หนังสือเล่มนี้จึงจัดอยู่ในประเภทประวัติศาสตร์สังคมที่ไม่ตามกระแส ด้วยการนำเสนอเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของคนและกลุ่มคนที่ไม่เคยมีฐานะพื้นที่ในประวัติศาสตร์มาก่อน คือ นำเสนอเรื่องราว ความเป็นมาของโจรในประวัติศาสตร์ไทย ลักษณะร่วมและพฤติกรรมของโจรในอดีต ความสัมพันธ์ของโจรกับระบบอุปถัมภ์ ข้อสำคัญของสาระทางประวัติศาสตร์นี้จะช่วยให้เราเข้าใจบริบท รากเหง้าของความสัมพันธ์นี้ แล้วต่อสู้ป้องกันมิให้ “โจร” กับ “อำนาจ” เชื่อมโยงกันต่อไปได้
-
Itemแนะนำหนังสือ : โยเดียกับราชวงศ์พม่าเรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้[DS528.5 .ฮ64 2550]( 2022-01-20) มิกกี้ ฮาร์ทในสมัยอยุธยาอาณาจักรสยามมีการทำศึกสงครามกับอาณาจักรพม่าอยู่บ่อยครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเป็นระยะๆ ฝ่ายชนะกวาดต้อนเชลยที่มีกำลังและความสามารถ เข้ามายังอาณาจักรตนเองเพื่อเสริมกำลังให้แข็งแกร่งขึ้น และบุคคลสำคัญที่เป็นทั้งเชลยศึกและผู้นำในการนำทัพสู้รบกับฝ่ายพม่าคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมาเป็น วันกองทัพไทยหรือเป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี ห้องคลังความรู้ขอเสนอเรื่องราวในแง่มุมบางอย่างที่ต่างไปจากประวัติศาสตร์ไทย-พม่าฉบับอื่นโดยผู้เขียนมุ่งหาข้อมูลการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จากหลายแหล่ง เพื่อชี้ให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่คนสมัยก่อนทำสงครามต่อกันเพื่อเป็นการขยายอำนาจ แสดงแสนยานุภาพ ไม่ใช่บาดหมางอาฆาตเจ็บแค้นระหว่างชนชาติจนจะฆ่ากันให้ตายให้ได้ ระบอบการปกครองด้วยจักรวรรดินิยม เมื่อชนะแล้วก็จัดให้ชาตินั้นๆ ปกครองต่อกันเอง ภายใต้ พระบารมีของกษัตริย์ที่เป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นผู้ชนะก็ยกทัพกลับไป เรื่องก็จบ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนกันมาว่าพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวนั้น จากบันทึกทางประวัติศาสตร์หลายแหล่งกล่าวว่าทรงต้องกระสุนปืนจากป้อมค่ายพระนครที่ระดมยิงกันมา
-
Itemแนะนำหนังสือ : “ สงครามโลก 1,2 (ฉบับสมบูรณ์) World War I,II ประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าที่โลกต้องเรียนรู้ [D 521 .ว65 2555]( 2022-01-27) ระชัย โชคมุกดาวันที่ 27 มกราคม เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าในยุคสมัยใด การทำสงคราม ย่อมมีผู้บาดเจ็บล้มตาย การสูญเสีย ความโหดร้ายของสงครามนำมาสู่การเข่นฆ่าอย่างไร้ความปราณี ในสมัยสงครามโลกครั้ง 2 มีรอยบาดแผลสำคัญที่จารไว้ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คือ เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวโดยนาซี ซึ่งรวมไปถึงการฆ่าผู้คนในค่ายกักกันในกรณีต่างๆ อย่างไร้มนุษยธรรม การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีได้สังหารชาวยิว ในทวีปยุโรปเป็นจำนวนอย่างน้อย 6 ล้านคน รวมไปถึงเชื้อชาติอื่นๆ อีกที่ถูกพวกนาซีลงความเห็นว่าเป็นพวกที่ “ไม่คู่ควร” “หรือต่ำกว่ามนุษย์” (รวมไปถึงผู้ที่ทุพพลภาพ ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต เชลยสงครามโซเวียต พวกรักร่วมเพศ สมาคมฟรีเมสัน ผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์และชาวยิปซี) โดยเป็นส่วนหนึ่งของการถอนรากถอนโคนอย่างจงใจ และได้รีบการดดำเนินการโดยรัฐบาลฟาสซิสต์นาซี นำโดย อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ นอกจากนี้ในที่อื่นๆ ก็มีค่ายกักกันของเชลยชาวโซเวียต เชลยสงครามชาวเยอรมัน เชลยสงครามชาวจีนของทหารญี่ปุ่น สงครามเป็นเครื่องเตือนใจว่ามนุษย์ควรมีทางเลือกที่จะปฏิบัติต่อมนุษย์ผู้เป็นคู่ขัดแย้งด้วยการเคารพในความเป็นมนุษย์ของเขาผู้นั้น เช่นเดียวกับหรือเท่ากับการเคารพตนเองได้
-
Itemแนะนำหนังสือ : วิถีจีน - ไทย ในสังคมสยาม[DS570 C6 ส87 2550]( 2022-02-03) แสงอรุณ กนกพงศ์ชัยวัฒนธรรมไทย-จีนเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ว่าการอยู่ร่วมกันอย่างสันติมีจริง ความสัมพันธ์ที่ถูกหล่อหลอมและผ่านความบอบช้ำทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ประชากรในประเทศไทยส่วนหนึ่งก็มีเชื้อสายจีนทำให้ประเพณีและเทศกาลของจีนค่อยๆเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย จึงเกิดเป็น “ พหุวัฒนธรรม ” ห้องคลังความรู้ขอเสนอเรื่องราวหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ตรุษจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน ชาวจีนทุกคนให้ความสำคัญกับวันนี้อย่างมาก มีการหยุดงานเป็นเวลายาวเพื่อมาจัดเตรียมงานเฉลิมฉลองพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว จะมีการซื้อหมูเห็ด เป็ดไก่ ขนมเข่ง ขนมเทียน เพื่อเอามาไหว้เจ้า ตามตำนานเมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน เทพเจ้าเตาไฟจะนำคำพูดของแต่ละครอบครัวไปทูลแก่เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ เพื่อไม่ให้เทพเจ้าเตาไฟเอาสิ่งที่ไม่ดีไปทูล คนจีนจึงทำขนมเข่งให้มีรสหอมหวานและมีความเหนียวเพื่อปิดปากไม่ให้ไปทูลสิ่งไม่ดี และคนจีนยังเชื่ออีกว่า “ มนุษย์ทุกคนมีเทพเจ้าเตาไฟประจำอยู่ในตัวของแต่ละคน ”
-
Itemแนะนำหนังสือ:รักในราชสำนัก[DS568.3พ642 2559]( 2022-02-10) พิมาน แจ่มจรัส.ใกล้เทศกาลแห่งความรัก วันวาเลนไทน์ เทศกาลส่งมอบความสุข ส่งต่อความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักต่อเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก ลองมาอ่าน “รักในราชสำนัก” โดยนักเขียนนักรัก พิมาน แจ่มจรัส ที่เจาะลึกถึงความรักลี้ลับของบุคคลชั้นสูง เรื่องเร้นลับ ลึกซึ้ง บางความรัก โศกซึ้งตรึงตรา โศกเศร้าสะเทือนใจกระทั่งกลายเป็น โศกนาฎกรรมอันสุดแสนรันทด ความรักคือการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย เพื่อก่อกำเนิดความเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตครอบครัว ประวัติส่วนใหญ่เรียงจากปัจจุบันไปหาอดีต ทุกชีวิตทุกความรัก ผิดแผกแตกต่างกันออกไป ทำนองเดียวกับใบหน้าและลายมือของแต่ละคน “รักบทสั้น อาจทำให้ประทับใจกว่าบทยาว รักจากเห็นชั่วพริบตา อาจฝังแน่นติดตรากว่ารักที่เห็นหน้าจำเจตลอดอายุขัย “
-
Itemแนะนำหนังสือ:การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่[BL 1475.จ6 ก46 2558]( 2022-02-17) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกหัวใจหลักของวันมาฆบูชาคือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ และการทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ ข้อที่ว่า การทำจิตให้ผ่องใสนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้กล่าวถึงวิธีเสริมกำลังให้แก่จิต ดังนี้ “ให้คอยสังเกตให้ณุ้ภาวะแห่งจิตของตนว่าเป็นอย่างไร และให้ยกจิตในเวลาที่ควรยก หัดข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม หัดทำจิตให้บันเทิงในเวลาที่ควรทำให้บันเทิง หัดปล่อยหรือดูอยู่เฉยๆ ในเวลาที่ควรทำเช่นนั้น เพราะจิตที่บริหารฝึกดีแล้วจะเป็นจิตที่มีสมรรถภาพสูง มีความสุขมาก และปล่อยวางได้ตามสบายจริง “ หลักวิธีบริหารจิต คือ ๑ ยกจิต ๒ ข่มจิต ๓ บันเทิงจิต ๔ ปล่อยจิต (ด้วยดู รู้ อยู่เฉยๆ) หลักบริหารจิต ๔ ข้อนี้ ใช้ปกครองจิตใจตนเอง ผู้ที่สามารถปกครองจิตใจของตนได้เอง ย่อมมีความสวัสดี ปลอดภัยดีกว่าใครๆ จะหวังให้คนอื่นมาช่วยอยู่เสมอ ย่อมเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเตือนว่า “จงโจทเตือนตนด้วยตน จงสอบสวนตนด้วยตน ผู้ที่มีสติคุ้มครองตน จักเป็นผู้ปลอดภัยอยู่เป็นสุข ”
-
Itemแนะนำหนังสือ:ศิลปินแห่งชาติ 2544[N7322.5ค355 2544]( 2022-02-24) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติศิลปินแห่งชาติ เกียรติประวัติแด่ผู้มีผลงานทางด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นด้านทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า การยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานรัฐ ก็ด้วยหวังว่าจะเป็นกำลังสนับสนุนให้คนที่ทำงานด้านศิลปะ จรรโลงใจให้ประชาชน นอกจากจะได้รับคุณค่าการยอมรับจากประชาชนแล้ว การดูแลจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเกียรติประวัติ เงินสวัสดิการที่จะได้รับไปตลอดชีพ ย่อมเป็นสิ่งที่เชิดชูใจ แต่การตัดสินรางวัลและการมอบเกียรติให้นั้น การดูที่ผลงานของศิลปินสำคัญกว่าทัศนะส่วนบุคคลของศิลปิน
-
Itemแนะนำหนังสือ:หญิงชาวสยาม [DS 570.7 อ 75 2547 ]( 2022-03-08) เอนก นาวิกมูลใกล้วันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสตรีสากล เป็นที่ทราบกันดีว่าเรื่องราวของผู้หญิงไม่ว่าชาติใด ไทยหรือสากล มีให้อ่านน้อยกว่าเรื่องของผู้ชาย มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ดังนั้นเมื่อมีการบันทึกเรื่องราวของผู้หญิง จึงเป็นที่น่าสนใจว่าเป็นเรื่องใด หญิงผู้นั้นเป็นใคร มีบทบาทอย่างไรบ้าง เรามาดูว่าผู้หญิงสมัยอดีต ไม่ว่าจะสูงศักดิ์หรือสามัญชนมีเรื่องราวบทบาทกันอย่างไร ตั้งแต่ผู้หญิงกับหนังสือ ผู้หญิงทารุณทาส เจ้านายผู้หญิง ผู้หญิงนักต่อสู้ ผู้หญิงถูกกำหนดวันตาย หนังผีผู้หญิง เป็นต้น และนี่เป็นบางส่วนจากหนังสือหญิงชาวสยามเล่มนี้
-
Itemแนะนำหนังสือ:น้ำตาลเปลี่ยนโลก[TP 378.2 .อ 85 น 2555]( 2022-03-10) มาร์ก แอรอนสัน และ มาริน่า บูโดสวันที่ 10 มีนาคม เป็นวันแห่งน้ำตาลในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญแห่งโภชนาการที่เหมาะสมของน้ำตาล และมาจากการเล่นคำในภาษาญี่ปุ่น ที่ว่า SATOU (3) (10) สำหรับหนังสือ น้ำตาลเปลี่ยนโลก เล่มนี้ น้ำตาลไม่ใช่แค่เครื่องปรุงรสหวานที่ทำให้อาหารมีรสกลมกล่อมอร่อยลิ้น ความเป็นมาของน้ำตาลและการแพร่หลายสู่อารยธรรมต่างๆ ยังแฝงนัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของโลก อย่างไม่อาจปฏิเสธ ในยุคแรกน้ำตาลเป็นของหายาก และมีบทบาทในพิธีกรรมศาสนา อีกทั้งเป็นสินค้าหรูหราที่คนมีเงินเท่านั้นจะหาซื้อได้ ความต้องการน้ำตาลที่สูงลิ่วทำให้เกิดอุตสาหกรรมไร่อ้อยขนาดใหญ่ และนำไปสู่การค้าทาสเพื่อเป็นแรงงานในไร่ ความโหดร้ายของการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้คร่าชีวิตชาวแอฟริกันไปหลายล้านคน จนนำไปสู่การเลิกทาสในที่สุด การผลิตน้ำตาลเปลี่ยนจากแรงงานทาส เป็นแรงงานจ้าง ไร่อ้อยในแคริบเบียนและอเมริการใต้จ้างคนงานชาวอินเดีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่นและชาวเอเชียอื่นๆ อีกมากมายจนทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นของคนนับล้าน น้ำตาลทำให้คนหลายล้านคนเสียชีวิต อีกหลายล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่นลอีกหลายล้านคนได้รับอิสรภาพ น้ำตาลจึงไม่ได้มีแค่รสหวาน มันเจือความขมปร่าของหยาดเหงื่อ เลือด และน้ำตาของคนมากมายในประวัติศาสตร์ หากไม่มีน้ำตาล โลกเราคงไม่เป็นอย่างทุกวันนี้
-
Itemแนะนำหนังสือ:ปริทัศน์มวยไทย[GV 1127 .ท9 ข 75 2550 ]( 2022-03-17) เขตร ศรียาภัยวันมวยไทย หรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่ นายขนมต้ม นักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 และสามารถชนะได้ถึงสิบคน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทย" อีกด้วย ปริทัศน์มวยไทย เล่มนี้ เป็นงานที่เคยลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย รายสัปดาห์ ได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้เขียนคือคุณเขตร ศรียาภัยเป็นครูมวยไทยเคยสอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องราวที่เล่าเป็นเกร็ดความรู้ในแวดวงมวยไทยที่อ่านสนุกมาก จำนวน 138 ตอน ตั้งแต่ความหมายของคำว่ามวย ตลอดจนตัวอย่างบางตอน เช่น -ไปตายดาบหน้าดีกว่าเป็นขี้ข้าชาติอื่น-หมาหางงอ-ตีมวย-รำมวย-ที่มาของคำว่าย่างสามขุม ศิลปะมวยไทยว่าด้วยตีน กติกามวยไทยห้ามกอดปล้ำ กติกามวยไทยห้ามจิกผม ไม้สำคัญของมวยไทย -ข้อห้ามของมวยไทย-ผู้ตัดสิน-แกล้งล้ม-การซ้ำ-การแกล้งล้มเป็นวิธีเอาตัวรอด-อาจไม่มีพระยาพิชัยดาบหัก ถ้าไม่นำ “แกล้งล้ม” ออกมาใช้ การ “ แกล้งล้ม” เป็นเล่ห์เหลี่ยม (Tactics) ในวิชามวยไทยขนานแท้ที่ชะงักความเสียเปรียบเพื่อหาโอกาสความได้เปรียบ เป็นยุทธวิธีเพื่อเอาชนะปฏิปักษ์ในที่สุด ไม่ผิดอะไรกับวิธีการทำมารยา (Strolling) ในแบบมวยสากล ดังตัวอย่างที่พอจะนำมากล่าวอ้างได้ คือ การต่อสู้ระหว่างโจหลุยส์กับเปาลิโน อูซ คูตัน เมื่อปี พ.ศ. 2478
-
Itemแนะนำหนังสือ:สารคดีตุลาคม 2564 ฉบับที่ 439( 2022-03-21) วัฒน์ วรรลยางกูรขอแสดงความอาลัยแด่คุณวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน นักแต่งเพลง นักต่อสู้ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ประเทศฝรั่งเศส ห้องคลังความรู้ มีบทความ “ศิลป์ สู้ ศึก” ที่สัมภาษณ์คุณวัฒน์ ที่สะท้อนแง่มุมความคิดของการต่อสู้ในสังคมมาเพื่อเป็นมุมมองและประสบการณ์ของผู้ผ่านทางมาก่อนให้กับนักต่อสู้ คนรุ่นใหม่และผู้คนร่วมสมัย ขอแนะนำมาอ่านกันครับ “อุดมการณ์เยาวชนปลดแอกมี”ภววิสัย” หรือพูดแบบโบราณ ฟ้าดินเป็นใจ ตรงที่สากลโลกเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารฉับไว พวกเขาจึงไม่เจอข้อจำกัดแบบคนเดือนตุลาฯที่เข้าป่า ไม่โดนบดขยี้ด้วยยุทธการปิดประตูตีแมวแบบ 6 ตุลา 19 สามารถยืนแลกหมัดโต้ข้อมูลกับฝ่ายอำนาจรัฐเผด็จการได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นคนหนุ่มสาวเยาวชนปลดแอกจึงมีแนวร่วมกว้างกว่าคน 6 ตุลา และคนเสื้อแดง คนหนุ่มสาวยุค 2475 มีความหวังกับยุคใหม่ของเขา สัมผัสได้ในคำประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่ยืนยันในบรรทัดแรกสุดว่า แผ่นดินนี้เป็นของราษฎรทั้งหลาย สัมผัสได้เมื่อเราอ่านนิยายของนักเขียนหนุ่มสาวยุคนั้น เช่น “ศรีบูรพา” หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง “ไม้ เมืองเดิม” “ยาขอบ” “ก. สุรางคนางค์ “ ฯลฯ มาจนถึงรุ่นต่อเนื่องตามหลังอย่าง “เสนีย์ เสาวพงศ์” อิศรา อมันตกุล ตัวละครเอกของพวกเขาต้องการชีวิตที่เสรี เสมอภาค เช่นกันกับคนหนุ่มสาวรุ่นเดือนตุลาฯ ที่ตื่นลืมตาขึ้นมาถามหาความหมายของชีวิต “ ฉันจึงมาหาความหมาย” ต้องการเสรีภาพ “ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน” ต้องการภราดรภาพ “กรรมกร ชาวนา จงมาร่วมกัน สร้างสรรค์โลกใหม่” ความคิด ความฝันของคนหนุ่มสาวที่ลับเลยตามกาลเวลาจะเป็น”มรดก” หรือว่าจะเป็น “หนี้สิน” ย่อมอยู่ที่วิจารณญาณของคนหนุ่มสาวรุ่นปัจจุบัน เลือกที่ดี ทิ้งที่เสีย โลกเป็นของคนรุ่นใหม่ก็ย่อมมีทยอยเข้ามาทดแทนกันสืบไปเหมือนคลื่นทะเล”
-
Itemแนะนำหนังสือ:ประชุมจดหมายเหตุโหร รวม 3 ฉบับ[DS 578. ป 466 2551 ]( 2022-03-24) ปวเรศวริยาลงกรณ์,สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันน้ำโลกหรือ World water day เพื่อให้ทุกคนร่วมระลึกถึงความสำคัญของน้ำและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เรื่องของน้ำ ทำให้นายกบแดงนึกถึงเรื่องน้ำฝนในสมัยโบราณของไทย ที่มีการจัดทำมาตรวัดน้ำด้วยภูมิปัญญาคนสมัยก่อนที่น่าสนใจนัก คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงได้คิดและจดบันทึกจัดทำเป็นจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนขึ้นมา 3 เล่ม (บัญชีน้ำฝนเล่ม 1- 3) สำหรับในประชุมจดหมายเหตุโหร เล่มนี้ สำนักพิมพ์ต้นฉบับได้รวมพิมพ์ไว้ 3 เรื่องคือ 1)จดหมายเหตุโหรฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ 2) จดหมายเหตุโหรของจมื่นกงศิลป์ และ 3) จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ความสำคัญของจดหมายเหตุโหร เป็นเรื่องบันทึกเหตุการณ์ที่บอกวันเวลาเรื่องราว ดังเช่น ที่ฝรั่งชาวตะวันตกบันทึกแบบไดอารี่ จดหมายเหตุโหรมีความสำคัญมากในการศึกษาทุกสาขาวิชาการ โดยเฉพาะสาขาประวัติศาสตร์ บันทึกจากจดหมายเหตุเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการกลับมาอ่านหรือค้นคว้า โดยเฉพาะบันทึกเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดในสังคม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว การขุดพบซากปลาวาฬในอดีต จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเริ่มจดตั้งแต่ในรัชกาลที่ 3 ปีมะเมีย พ.ศ. 2389 และทรงพระอุตสาหะจดเป็นรายวันตลอดมานับได้ 45 ปี ถึงปีขาล พ.ศ. 2433 ในรัชกาลที่ 5 มีรายละเอียดรายวันว่าฝนตกวันละเท่าใด ทรงแต่งอธิบายเป็นโคลงเล่าถึงคำว่า “ห่าฝน” หมายถึงอะไร ทรงบันทึกไว้เป็นข้างขึ้น ข้างแรม สถานที่วัดน้ำฝน ปริมาณน้ำฝน กี่เซ็นต์ ทรงอธิบายมาตรวัดปริมาณน้ำจากบาตรปากกว้าง 10 นิ้วกึ่ง สูง 9 นิ้ว จุน้ำได้ 12 ทะนาน ๆละ 4 ถ้วยใหญ่ๆ ถ้วยใหญ่คิดเป็นน้ำ 6 นิ้ว (42 เซ็นต์) ทะนานหนึ่งเป็นน้ำ 24 นิ้ว (168 เซนต์) บาตรหนึ่งเป็นน้ำถึง 288 นิ้ว (2016 เซนต์) ตัวอย่างที่ทรงบันทึกไว้ มี ดังนี้ ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1208 (พ.ศ. 2389) เดือน 6 ฝนตก 105 เซนต์ ขึ้นค่ำ 1 ฝนตกมาก อสนิบาต ตกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดือน 7 ข้างขึ้นฝนตก 223 เซนต์ เดือน 7 ข้างแรมฝนตก 1469 เซนต์
-
Itemแนะนำหนังสือ:แผ่นดินพระนั่งเกล้า[DS578 .ป466 2551]( 2022-03-31) วอลเตอร์ เอฟ เวลลาวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี คณะรัฐมนตรีประกาศให้เป็นวันมหาเจษฎาบดินทร์ แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 วอลเตอร์ เวลลา ผู้เขียนได้เขียนเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นนี้โดยรวบรวมหลักฐานจากหลายแหล่งข้อมูลทั้งไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ที่มีผู้บันทึกไว้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ ในมุมมองของชาวต่างชาติ ฉายให้เห็นความเป็นไปของประเทศสยามในยุคเกือบ 200 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ไม่ค่อยจะมีผู้ถวายพระเกียรติหรือยกย่องให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระองค์เป็นผู้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง และวางรากฐานกิจการต่างประเทศไว้เตรียมรับภัยอันตรายอันเกิดจากการล่าอาณานิคม ในเรื่องจะแบ่งเป็นตอนๆ ตั้งแต่ 1) พระมหากษัตริย์กับราชสำนัก การที่พระองค์เองเมื่อตอนครองราชย์อยู่ก็อยากแต่งตั้งรัชทายาทต่อจากพระองค์เช่นกัน แต่ก็ไม่ได้แต่งตั้งเพราะเกรงพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้าน จึงโยนไปให้เสนาบดี ได้แต่ปรารภว่าไม่อยากให้มีการนองเลือดคราวผลัดแผ่นดิน ประกอบกับพระองค์ประชวรหนักใกล้สวรรคต จึงไม่มีอิทธิพลที่จะทัดทาน เหล่าเสนาบดีที่จะทูลเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์ต่อ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับราษฎร 3)การพระศาสนา 4) ศิลปะและวรรณคดี 5) สัมพันธภาพระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ แม้ว่าการพัฒนาประเทศในสมัยของพระองค์จะเป็นในรูปแบบเก่าแก่ดั้งเดิมแบบ”สยามเก่า” (Old Siam) คือ ยังคงเหมือนเดิมก่อนหน้านั้น สนใจในกิจการภายในประเทศ จุดรวมความสนใจของประชาชนอยู่ที่พระมหากษัตริย์ รัฐบาลทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและการเก็บภาษีรายได้ และในระหว่างนั้น พระองค์ก็เริ่มดำเนินนโยบายรับพวกฝรั่งเข้ามามากขึ้น จึงทำให้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งที่เรียนรู้วัฒนธรรม ภาษากับฝรั่ง แต่พระองค์ก็มิได้ประสงค์จะเปลี่ยนวิถีชิวิตหรือขนบธรรมเนียม พระองค์ทรงเห็นว่าอันตรายอันจะบังเกิดจากจากอิทธิพลของฝรั่ง กับอันตรายจะบังเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามความประสงค์ของพวกฝรั่งแล้ว ทรงสรุปว่าอันตรายจากอิทธิพลของพวกฝรั่งนั้นรุนแรงมากกว่า แต่มีชนเพียงกลุ่มน้อยที่มีความห่วงใยในปัญหานี้ ขณะที่พวกที่ยกยอปอปั้นฝรั่ง เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพล ซึ่งฝ่ายพวกหลังนี่เองที่ได้มีอำนาจขึ้นมา หลังจากสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 พวกเหล่านี้ได้เปิดประตูต้อนรับอารยธรรมตะวันตก และนำประเทศไปสู่ศักราชแห่ง “สยามใหม่” (New Siam) มาจนถึงปัจจุบัน