แนะนำหนังสือ:ประชุมจดหมายเหตุโหร รวม 3 ฉบับ[DS 578. ป 466 2551 ]

File type
application/pdf
Date
2022-03-24
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Editor(s)
Other contributor(s)
Abstract
วันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันน้ำโลกหรือ World water day เพื่อให้ทุกคนร่วมระลึกถึงความสำคัญของน้ำและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เรื่องของน้ำ ทำให้นายกบแดงนึกถึงเรื่องน้ำฝนในสมัยโบราณของไทย ที่มีการจัดทำมาตรวัดน้ำด้วยภูมิปัญญาคนสมัยก่อนที่น่าสนใจนัก คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงได้คิดและจดบันทึกจัดทำเป็นจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนขึ้นมา 3 เล่ม (บัญชีน้ำฝนเล่ม 1- 3) สำหรับในประชุมจดหมายเหตุโหร เล่มนี้ สำนักพิมพ์ต้นฉบับได้รวมพิมพ์ไว้ 3 เรื่องคือ 1)จดหมายเหตุโหรฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ 2) จดหมายเหตุโหรของจมื่นกงศิลป์ และ 3) จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ความสำคัญของจดหมายเหตุโหร เป็นเรื่องบันทึกเหตุการณ์ที่บอกวันเวลาเรื่องราว ดังเช่น ที่ฝรั่งชาวตะวันตกบันทึกแบบไดอารี่ จดหมายเหตุโหรมีความสำคัญมากในการศึกษาทุกสาขาวิชาการ โดยเฉพาะสาขาประวัติศาสตร์ บันทึกจากจดหมายเหตุเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการกลับมาอ่านหรือค้นคว้า โดยเฉพาะบันทึกเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดในสังคม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว การขุดพบซากปลาวาฬในอดีต จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเริ่มจดตั้งแต่ในรัชกาลที่ 3 ปีมะเมีย พ.ศ. 2389 และทรงพระอุตสาหะจดเป็นรายวันตลอดมานับได้ 45 ปี ถึงปีขาล พ.ศ. 2433 ในรัชกาลที่ 5 มีรายละเอียดรายวันว่าฝนตกวันละเท่าใด ทรงแต่งอธิบายเป็นโคลงเล่าถึงคำว่า “ห่าฝน” หมายถึงอะไร ทรงบันทึกไว้เป็นข้างขึ้น ข้างแรม สถานที่วัดน้ำฝน ปริมาณน้ำฝน กี่เซ็นต์ ทรงอธิบายมาตรวัดปริมาณน้ำจากบาตรปากกว้าง 10 นิ้วกึ่ง สูง 9 นิ้ว จุน้ำได้ 12 ทะนาน ๆละ 4 ถ้วยใหญ่ๆ ถ้วยใหญ่คิดเป็นน้ำ 6 นิ้ว (42 เซ็นต์) ทะนานหนึ่งเป็นน้ำ 24 นิ้ว (168 เซนต์) บาตรหนึ่งเป็นน้ำถึง 288 นิ้ว (2016 เซนต์) ตัวอย่างที่ทรงบันทึกไว้ มี ดังนี้ ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1208 (พ.ศ. 2389) เดือน 6 ฝนตก 105 เซนต์ ขึ้นค่ำ 1 ฝนตกมาก อสนิบาต ตกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดือน 7 ข้างขึ้นฝนตก 223 เซนต์ เดือน 7 ข้างแรมฝนตก 1469 เซนต์
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 24 มีนาคม 2565
Sponsorship
Keywords
Subject(s)
Youtube