Books of Interest

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 128
Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ บทเรียนจากคนอื่น (เลขเรียกหนังสือ AM1 ป5 2558)

(2024-09-11) , ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

“หนังสือ ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ : บทเรียนจากคนอื่น เกิดจากการคัดสรรรวบรวมปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย จากข้อเขียนต่างๆกัน จึงเป็นเสทอนพื้นที่ของการทบทวนการทำงานของบุคลากรทางพิพิธภัณฑ์ รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในบทบาทของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ที่จะได้ใช้บทเรียนและชุดประสบการณ์ของผู้อื่นเพื่อการสนทนากับชุดประสบการณ์ของตนเอง เพราะการทำความคุ้นเคยกับผู้อื่น จะเปิดโอกาสให้เราได้ทบทวนตนเองและแสวงหาที่ทางอันเหมาะสมสำหรับการทำงานซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรื่อยไป ตามสถานการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่อยู่เสมอ”

Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : หมอปลัดเล (เลขเรียกหนังสือ DS581.31 ส43 2548)

(2024-09-11) , ส.พลายน้อย

“พวกมิชชันนารีได้คิดหาวิธีฉีดหนองเชื้อเข้าไปในตัวโค แล้วเอาหนองโคนั้นมาใช้ฉีดกันไข้ทรพิษ วิธีนี้คิดและทดลองอยู่ถึง 5 ปี จึงได้สำเร็จ ได้ใช้หนองนั้นฉีดกันพวกบุตรธิดาของตนไว้ได้เป็นอันมาก พอพวกมิชชันนารีคิดเรื่องหนองฝีสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินทราบก็ดีพระทัยมาก โปรดให้หมอหลวงทั้งหมดมาหัดฉีดหนองฝีกันไข้ทรพิษ แล้วจะให้ไปปลูกทั้งที่ในวังและนอกวัง ตลอดจนพวกราษฎรตามมณฑลอื่นๆ อีก”

Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน (เลขเรียกหนังสือ N8193.2 .ศ626 2556)

(2024-09-11) , ศักดิ์ชัย สายสิงห์

“พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 คือ การทำพระพุทธรูปกึ่งสมจริง ที่มีจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ครองสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่เหมือนจริง อันเป็นการปรับรูปแบบของพระพุทธรูปให้เข้ากับแนวคิดแบบสัจนิยม” และด้วยการเป็นพระพุทธรูปสมัยนิยมนี่เอง ทำให้รัชกาลที่ 4 ได้ทรงให้หล่อ “พระนิรันตราย” จำนวน 18 องค์ ให้เท่ากับปีที่อยู่ในราชสมบัติ แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สานต่อพระราชปณิธานโดยการปรับให้มีซุ้มเรือนแก้ว โดยยอดซุ้มมีมหามงกุฎ และจารึกบทอิติปิโสภควา 9 วรรค ก่อนพระราชทานให้วัดในธรรมยุติกนิกาย 18 แห่ง ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายที่ “พระนิรันตราย” ที่ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้ถูกขโมยไปเกือบ 6 ปี โดยอยู่ระหว่างการติดตามหาคืนโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ “พระนิรันตรายนี้” ได้คืนสู่วัดราชประดิษฐ์ฯ อีกครั้งหนึ่ง

Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : Bangkok Shophouses ตึกแถวกรุงเทพฯและชีวิตชาวย่าน (เลขเรียกหนังสือ NA1522.ก4 .ศ74 2565)

(2024-09-11) , ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา

“เพราะตึกแถวมีเรื่องราว มันบรรจุประวัติศาสตร์ผ่านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมผ่านร่องรอยคราบเก่า และยังมีหลากหลายเรื่องเล่า ผ่านวิถีชีวิตของชาวย่านนั้นๆ หนังสือ Bangkok Shophouses จะชวนคุณมาร่วมสังเกต และทำความรู้จักเรื่องราวเหล่านี้ผ่านภาพวาดจากดินสอ ปากกา และสีน้ำ ของตึกแถวในแต่ละย่านของเมืองเก่ากรุงเทพฯ”

Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 36 ฉบับที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง ตำนานรักมะเมียะ เรื่องราวความรักของผู้ใด? ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 36 ฉบับที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยได้วิเคราะห์งานเขียนของ ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง อดีตนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ชาวเชียงใหม่ ที่ได้นำเรื่องราวความรักของเจ้าน้อยศุขเกษม กับมะเมียะ หญิงสาวชาวมะละแหม่ง มาเขียนลงหนังสือ “เพ็ชร์ลานนา” และ “ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่” โดยทั้ง 2 ได้พบรักกันในช่วงที่เจ้าน้อยไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์แพทริก จนเมื่อเจ้าน้อยอายุ 20 ปี ได้เดินทางกลับเชียงใหม่บ้านเกิด ก็ได้พามะเมียะกลับมา แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในยุคนั้นที่ทางสยามเกิดความตึงเครียดต่อการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้ความรักของมะเมียะ กับเจ้าน้อย ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะมะเมียะมาจากพม่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งจากการค้นคว้าหลักฐานร่วมสมัย เอกสารทางราชการต่างๆ ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องความรักระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษม กับมะเมียะ ไม่เคยเกิดขึ้นจริง แต่น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดกับเจ้านายเชียงใหม่องค์อื่นมากกว่า “เมื่อประมวลความจากเอกสารหลักฐานดังได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว น่าจะวินิจฉัยเป็นที่สุดได้ว่า เรื่องราวความรักระหว่างเจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) กับมะเมียะ ที่ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง นำมาบันทึกไว้นั้น ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในหน้าประวัติศาสตร์ หากแต่เรื่องราวดังกล่าวน่าจะมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริงในประวัติของเจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชสัมพันธวงษ์ และเจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ตามลำดับ”

Thumbnail Image
Item

แนะนำหนังสือ : 75 ปีวันสันติภาพไทย : บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (เลขเรียกหนังสือ DS584 .ป46 2563)

(2024-09-11) , ปรีดี พนมยงค์

“วันสันติภาพไทย คือ โอกาสหนึ่งที่ช่วยเตือนให้เราได้ตระหนักถึงคุณค่าของสันติภาพ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นของนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นของอันประเสริฐยิ่ง ประสบการณ์ความยากลำบากในช่วงสงครามโลกได้ผ่านไปแล้ว เป็นเวลาถึง 7 ทศวรรษ หลังจากนั้นประเทศไทยของเราก็ไม่ต้องเผชิญศึกสงครามใหญ่อีก