แนะนำหนังสือ : รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย [NA6021 ส234ร 2554]

File type
application/pdf
Date
2021-11-04
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Editor(s)
Other contributor(s)
Interviewee
Interviewer
Abstract
เมื่อเราพูดถึง “วัด” สิ่งที่เรานึกถึงคือการไปทำบุญ ไหว้พระ ขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การได้ท่องเที่ยวชมสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามของวัด เช่น วิหาร โบสถ์ เจดีย์ เป็นอันดับต้นๆ แต่ผู้คนมากมายก็ยังไม่ทราบถึงความหมาย ความเป็นมา รูปแบบ ของสิ่งก่อสร้างที่ได้กล่าว และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในวัด ที่ผู้คนได้มองข้าม แต่สิ่งเหล่านี้ได้ล้วนมีความหมาย ที่มา เหมือนกันครับ วันนี้ห้องคลังความรู้ขอแนะนำหนังสือที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน รายวิชาพื้นฐานสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนที่เวลาต่อมาจะได้รับความสนใจจากประชาชน มหาวิทยาลัยต่างๆ จนได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ จนถึงการพิมพ์ครั้งที่ 4 โดยเนื้อหาในหนังสือว่าด้วยเรื่องราวของ ความหมาย ที่มา และชื่อเรียก ที่เกี่ยวข้องกับ “วัด” นอกจากนั้น ยังรวมถึงพุทธสถาปัตยกรรมไทยที่ปรากฏอยู่ในวัด ซึ่งในอาณาบริเวณวัดประกอบด้วยเขตใหญ่ 3 เขต คือ 1. เขตพุทธาวาส เป็นส่วนที่สำคัญสุดของวัด ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับพระสงฆ์ ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ผ่านสถาปัตยกรรม เช่น วิหาร อุโบสถ เจดีย์ เสมือนสัญลักษณ์ที่ประทับของพระพุทธเจ้า 2. เขตสังฆาวาส เป็นเขตพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับ พิธีการใดทางศาสนา ผ่านสถาปัตยกรรม เช่น กุฏิ เวจกุฎี ห้องสรงน้ำ หอไตร ฯลฯ 3. เขตธรณีสงฆ์ เป็นพื้นที่ที่เหลือจากการแบ่งเขตวัด คือ เขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เป็นเขตพื้นที่สำหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยในเชิงเขตพื้นที่สาธารณประโยชน์ โดยมีสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมอย่างเช่น เมรุ สำหรับฌาปนกิจศพ หรือโรงเรียน สำหรับเป็นที่ให้การศึกษา ฯลฯ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายที่มา ความหมาย และศิลปกรรมของพุทธสถาปัตยกรรมทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้น ตั้งแต่สถาปัตยกรรมในอดีตจนพัฒนาสู่สมัยใหม่ พร้อมนำเสนอด้วย ภาพถ่าย แผนผัง ลายเส้น ภาพวาดประกอบ และมีลูกศรชี้อธิบายให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจพุทธสถาปัตยกรรมภายในวัดทั้งหมดได้โดยง่าย หากผู้อ่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ เพื่อสมัครสมาชิก และรับบริการยืมอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้เลยครับ
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
Sponsorship
Keywords
Subject(s)
Youtube