(2007) , ณัฐธัญ มณีรัตน์
ความเชื่อเรื่องยันต์ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารโบราณ พระพิมพ์ หรือจารึก ช่วยให้เราสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า เลขยันต์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว และเมื่อวิเคราะห์ดูเนื้อหาสาระของระบบยันต์ก็พบว่า ยันต์ต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่เพียงแต่ความเหมือนกันในเรื่องรูปแบบ แม้แต่องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การเสกยันต์ การสร้างหรือเขียนยันต์ ก็เหมือนกัน ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะในอดีตดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณนี้เคยได้รับเอาอิทธิพลของคำสอนมหายานและพราหมณ์-ฮินดูเอาไว้ ดังนั้นหลักคำสอนที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ศูนยตา ตรีกาย มณฑลของมหายานและรูปแบบของเทพเจ้าต่าง ๆ ของพราหมณ์-ฮินดู ก็มีปรากฏอยู่ในระบบยันต์ ในปัจจุบันยังมีเอกสารโบราณที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับยันต์ต่าง ๆ ให้ศึกษาพอสมควร ทำให้พบเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติของมหายานด้วย เช่น สมาธิเพ่งอักษร ซึ่งใช้ในการฝึกสร้างรูปแบบมณฑลในจิตซึ่งปรากฏในคัมภีร์ปถมัง ในคัมภีร์เดียวกันนี้ยังแสดงนัยยะเรื่องพระปัญจชินพุทธเจ้า และหลักศูนยตาอย่างชัดเจน ในปัจจุบันจะหาผู้ที่ศึกษาอย่างจริงจังได้น้อย มีเพียงการนำเอารูปแบบภายนอกไปประยุกต์ใช้เท่านั้นเอง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงปรัชญาที่แฝงเอาไว้ได้ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การจะทำยันต์สักยันต์หนึ่งต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ทันทีทันใดได้ เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนทางจิตเป็นปทัฏฐานเสียก่อน ส่วนอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของรูปแบบของยันต์ที่มักจะนำเอารูปเทพเจ้าต่าง ๆ มาใช้ประกอบในยันต์ เช่น รูปพระนารายณ์ รูปหนุมาน รูปพาลี แต่ไม่ปรากฏว่ามีการนำปรัชญาที่ลึกซึ้ง อาทิ แนวคิดเรื่องปรมาตมันเข้ามาในระบบยันต์ด้วย อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า การนำเอาความเชื่อเรื่องยันต์ไปสัมพันธ์กับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ก็เพื่อต้องการรักษาสารัตถะสำคัญบางอย่างเอาไว้ไม่ให้สูญหาย อย่างน้อยในเวลาต่อมา หากมีผู้สนใจศึกษาก็อาจจะได้พบปรัชญาเหล่านั้น อีกทั้งตราบใดที่ยังมีผู้ยึดถือปฏิบัติอยู่ สิ่งนั้นก็จะคงอยู่เช่นนั้น การศึกษาวิเคราะห์เรื่องยันต์จะสามารถทำให้เราเข้าใจถึงพัฒนาการและสาระสำคัญของสิ่งนี้
(2009) , ปราณี ตันธนาโชติ
(2007) , วรรษพร อากาศแจ้ง
(2007) , ภรณ์รวี เจริญปุระ
(2010) , จุลนี เทียนไทย และทีมงานวิจัย
(2006) , สุภาพ บุญญาสัย และคณะ
การทำวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการวิจัยพัฒนาองคืความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน โรงเรียนสองพิทยาคม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การดำเนินงานจำแนกออกเป็น 2 ตอน ตอนแรก เป็นการจัดการกับระบบการจัดเก็บ การลงทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์ จัดองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งคณะครู นักเรียนและชุมชน เพื่อทบทวนข้อมูล รวมทังศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน จนได้บทสรุปออกมาเป็นอค์ความรู้โดยการมีส่วนร่วม ตอนที่ 2 เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของชุมชนในอำเภอสอง มีการวิเคราะห์ การตีความ การตรวจสอบองค์ความรู้ การประชุม การสนทนากลุ่มย่อย การใช้แบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านโรงเรียนสองพิทยาคม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงการดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาของชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี การกินอยู่อันมีเอกลักษณ์ของชาวอำเภอสอง