การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : ศึกษากรณีตำบลโนนศิลาเลิง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

dc.contributor.author ทวี พรมมา
dc.date.accessioned 2016-07-22T09:39:41Z
dc.date.available 2016-07-22T09:39:41Z
dc.date.issued 2007-05
dc.description.abstract พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ก่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิง และพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุนชนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และตรวจสอบซ้ำโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอผลงานวิจัยในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎบริเวณพื้นที่ตั้งของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงเดิมมีความสัมพันธ์กับเมืองฟ้าแดดสงยาง และมีพัฒนาการของชุมชนมาเป็นลำดับ เมื่อกลุ่มชนจากอาณาจักรล้านข้าง (ลาว) ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคอีสานจึงเกิดเป็นชุมชนใหม่ที่มีการรวมตัวกันในบริเวณพื้นที่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เหมาะสม แล้วผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เกิดเป็นศาสนาแบบชาวบ้านที่ได้รับการสสั่งสอนสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นวัตรปฏิบัติตามปฏิทินทั้งปี เรียกว่า "ฮีตสิบสอง" ด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงจึงถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ การถูกแทรกแซงและครอบงำโดยกระแสทุนนิยม อำนาจของชาติรัฐและการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น en_US
dc.description.abstract Local museums are learning resources which can originate the process of learning in the way of life. This study aimed to gather information of local community in Tambon Non Sila Loeng and the Museum of Folk Culture and Local Wisdom in order to develop these things to be learning resources of local community. This study was a qualitative research. The study was conducted by means of documentary studies and field studies. Data were gathered through interviews and observations. The statistics used for analyzing the gathered data were percentage and cross-checking by technique. The results of the study revealed the following. From the archaeological evidence as appearing, the area where the local community of Tambon Non Sila Loeng is currently located was formerly associated with Mueang Fa Daet Song Yang, and there have been developments of the community in continuity. When a group of people moved from the kingdom of Lan Xang (Laos) to have the settlement in the northeastern region of Thailand (I san), then there has been a new community where people have lived together in the area with appropriate geographical environments. Then they have had acculturalization. There have been animism, Brahminism, and BUddhism mixed together. Thus there have occurred popular Buddhism or folk religion which has been taught, inhered, and handed down up to present. It has become routine practices according to the calendar all the year round as so-called "hit sip song" (traditions to observe in each of the twelve lunar months of the year). Due to the conditions of rich low plain and water in this area, local community of Tambon Non Sila Loeng is now regarded as an important source of rice production. Currently the way of living lives of the villagers has changed according to the social and economic conditions. The interference and domination by the stream of capitalism, nation state powers, and modernized education have caused the local community not to generate the process of learning in the way of life of the villagers. The establishment of this local museum can cause people to realize the relationships of local people, relationships between people and natural environments, and relationships between people and the supernatural which can reflect local wisdom. en_US
dc.description.tableofcontents บทที่ 1 บทนำ--บทที่ 2 สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม--บทที่ 3 สภาพสังคม เศรษฐกิจ และแหล่งเรียนรู้--บทที่ 4 พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดกระบวนการเรียนรู้--บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ--บรรณานุกรม--ภาคผนวก--ประวัติผู้วิจัย
dc.format.extent 612 หน้า en_US
dc.format.mimetype application/pdf en_US
dc.identifier.uri https://repository.museumsiam.org/handle/6622252777/262
dc.language.iso tha en_US
dc.publisher สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) en_US
dc.rights ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ en_US
dc.rights.holder สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) en_US
dc.subject ภูมิปัญญาท้องถิ่น
dc.subject พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
dc.subject วัฒนธรรมพื้นบ้าน
dc.subject ชุมชนท้องถิ่น
dc.subject โนนศิลาเลิง
dc.subject แหล่งเรียนรู้ชุมชน
dc.subject เมืองฟ้าแดดสงยาง
dc.subject คติชาวบ้านอีสาน
dc.subject สังคมอีสาน
dc.subject พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น en_US
dc.subject สังคมชนบท
dc.subject การเรียนรู้ในวิถีชีวิต en_US
dc.subject.other พิพิธภัณฑ์ -- ไทย -- กาฬสินธุ์ -- การจัดการ
dc.subject.other การจัดการความรู้ร่วมชุมชน -- ไทย -- กาฬสินธุ์
dc.subject.other การบริหารองค์ความรู้ -- ไทย -- กาฬสินธุ์
dc.subject.other การจัดการพิพิธภัณฑ์
dc.subject.other พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง
dc.subject.other แหล่งเรียนรู้
dc.subject.other กาฬสินธุ์ -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.title การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : ศึกษากรณีตำบลโนนศิลาเลิง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ en_US
dc.type Text en_US
mods.genre งานวิจัย
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
NDMI-research-b00000341.pdf
Size:
193.59 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections