แนะนำหนังสือ : งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ [N7321 .ร6 ศ63]
แนะนำหนังสือ : งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ [N7321 .ร6 ศ63]
Files
File type
Date
2024-03-28
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Resource type
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Authors
Editor(s)
Other contributor(s)
Interviewee
Interviewer
Abstract
ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในและนอกเขตพระนคร ถึงกับมีระบุไว้ในเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ 3 ไว้ว่า
“ทูลเรื่องอื่นมิได้ชื่นเหมือนเรื่องวัด เวียนแต่ตรัสถามไต่ให้ไฝ่ฝัน...” จากประโยคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัชกาลที่ 3 นั้นโปรดในเรื่องของการสร้างวัด ทั้งในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่สร้างตั้งแต่ครั้งรัชกาล ที่ 1 รวมไปถึงวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคของพระองค์เอง นั่นเลยทำให้หลายๆวัดในกรุงเทพในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยศิลปะงานช่างจากยุครัชกาลที่ 3 อยู่
หนังสือ งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ (เลขเรียกหนังสือ N7321 .ร6 ศ63) โดยศักดิ์ชัย สายสิงห์ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเฉพาะการเปลี่ยนการสร้างวัดตามประเพณีนิยม กล่าวคือการใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลัก มาเป็นการสร้างตามพระราชนิยม ที่ใช้การก่ออิฐถือปูน ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อความคงทนแข็งแรงแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญจากการเกณฑ์ช่างจีนมาช่วยก่อสร้าง
“ในรัชสมัยนี้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นใหม่อย่างมากมาย จำเป็นต้องระดมช่างเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดช่างฝีมือดีมาทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะการสร้างแบบประเพณีนิยมที่ต้องแกะสลักช่อฟ้า หน้าบัน ถ้าต้องรอช่างเหล่านี้คงต้องใช้เวลานานจึงไม่ทันการ พระองค์จึงทรงเกณฑ์ช่างจีนมาช่วยสร้างงาน ดังนั้น รูปแบบของอาคารจึงเปลี่ยนแปลงไปตามความสามารถของช่างจีน”
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 28 มีนาคม 2567