แนะนำหนังสือ:พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล[DS578 พ47 บ45 2549]
แนะนำหนังสือ:พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล[DS578 พ47 บ45 2549]
Files
File type
application/pdf
Date
2023-11-04
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Resource type
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Authors
Editor(s)
Other contributor(s)
Interviewee
Interviewer
Abstract
เชื่อว่าช่วงนี้หลายๆท่านน่าจะสนใจเรื่องราวของประวัติศาสตร์ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ รวมไปถึงในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวบรมโกศ วันนี้ห้องคลังความรู้มิวเซียมสยาม ขอแนะนำหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล เพื่อผู้ที่สนใจจะได้รับรู้ประวัติศาสตร์ในยุคนั้นได้มากขึ้น
สำหรับหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล (เลขเรียกหนังสือ DS578 พ47 บ45 2549) เป็นพระราชพงศาวดารที่มีการชำระแล้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการจัดพิมพ์โดยดอกเตอร์ แดน บีช บรัดเล มิชชั่นนานรีชาวอเมริกัน ซึ่งเนื้อหาของพระราชพงศาวดารในเล่มนี้พูดถึงตั้งแต่สร้างกรุงศรีอยุธยา จนถึงเสียกรุงครั้งที่ 2 สำหรับในยุคสมัยของขุนหลวงท้ายสระนั้น พระราชพงศาวดารได้มีการบันทึกเรื่องของการโปรดเสวยปลาตะเพียนไว้ว่า
“ครั้นนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเหตุในอโนตัปปธรรม แลเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนพระราชบิดา แล้วทรงพอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้ามมิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภคก็ให้มีสินไหมแก่ผู้ผั้น เป็นเงินตราห้าตำลึง”
ซึ่งนอกจากเรื่องโปรดเสวยเรื่องปลาตะเพียนแล้ว ห้องคลังความรู้อยากชวนทุกท่านลองเปรียบเทียบการบันทึกช่วงเวลาสวรรคตของขุนหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ มีการบันทึกช่วงสวรรคตไว้ว่า
“ลุศักราชได้ ๑๐๙๔ ปีชวด จัตวาศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวรหนักลง ก็ถึงแก่ทิวงคตในเดือนยี่ข้างแรมไปโดยยถากรรมแห่งพระองค์นั้น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาบังเกิดในปีมะแม อายุได้ยี่สิบแปดปี ได้เสวยราชสมบัติยี่สิบหกพรรษาเศษ พระชนมายุได้ห้าสิบสี่พรรษาเศษกระทำกาลกิริยา ผู้ใดมีเมตตาไม่ฆ่าสัตว์อายุยืน ไม่มีเมตตาฆ่าสัตว์อายุสั้น”
แต่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการณ์บันทึกช่วงใกล้สวรรคตไว้ว่า
“ณ วันเดือนสิบสอง แรมสองค่ำ ปีฉลู นพศก กลางคืนลมว่าวพัดหนัก พระมหาธาตุซึ่งเป็นหลักวัดโพธิ์โทรมลงทลาย ทั้งอากาศสำแดงร้ายอาเพศ ประทุมเกตุตกต้องมหาธนูลำพู่กัน อนึ่ง ดวงดาวก็เข้าในวงพระจันทร์ ทั้งดาวหางคลองช้างเผือก ประชาชนก็เย็นยะเยือกทั้งนคร ด้วยเทพเจ้าสังหรณ์ให้เห็น ด้วยพระองค์เป็นหลักชัยในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา”
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566