ประวัติย่อของกาลเวลา {QB 981 ฮ 176 ป 2549}
ประวัติย่อของกาลเวลา {QB 981 ฮ 176 ป 2549}
File type
application/pdf
Date
2022-08-18
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Resource type
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Authors
Editor(s)
Other contributor(s)
Interviewee
Interviewer
Abstract
วันที่ 18 สิงหาคม ถือเป็นวันวิทยาศาสตร์ของชาติ หนังสือประวัติย่อของการเวลาเล่มนี้ของสตีเฟน คิงส์ ถือเป็นหนังสือเพชรน้ำเอกทางด้านวิทยาศาสตร์ และวงการฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ทีเดียว เป็นหนังสือที่บุกเบิกความรู้ทางด้านจักรวาลวิทยาที่ซับซ้อนให้คนทั่วไปได้เข้าใจง่าย เป้าหมายสูงสุดของวิทยาศาสตร์คือ การสร้างทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้ทั้งเอกภพ ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ใช้ทฤษฎีพื้นฐาน 2 ทฤษฎีในการอธิบายเอกภพ ได้แก่ ทฤษฎีสัมพันภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) และทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตั้ม (Quantum Mechanics) ปัจจุบันหนึ่งในเป้าหมายหลักในวงการวิทยาศาสตร์และเป็นหัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ ความพยายามที่จะคิดค้นทฤษฎีใหม่ที่สามารถรวมทฤษฎีทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงแบบควอนตั้ม ซึ่งถ้าทำสำเร็จ จะถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ เพราะนั่นคือ สุดยอดทฤษฎี หรือทฤษฎีสรรพสิ่ง (The Theroy of Everything) ที่จะสามารถอธิบายและทำนายทุกสรรพสิ่งในเอกภพ ซึ่งฮอว์กิ้งเชื่อว่าเราเข้าใกล้ความสำเร็จไปมากแล้ว
สำหรับสตีเฟน ฮอว์กิ้งแล้ว เขาคือ อัจฉริยะนักสู้ในร่างพิการ : “เป้าหมายของผมคือ การค้นหาคำตอบที่ชัดเจนว่าเอกภพคืออะไร และทำไมต้องมีเอกภพ” บางคนบอกว่าเขาคือนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าไอน์สไตน์ และเซอร์ไอแซค นิวตัน บางคนบอกว่าเขาคือคนที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุดในยุคปัจจุบัน เขาเป็นผู้วางรากฐานเกี่ยวกับสภาวะอันแปลกประหลาดที่เรียกว่า “Singularity” ณ จุดเริ่มต้นของกาลเวลา และค้นพบว่า ที่จริงแล้วหลุมดำ สามารถเปล่งแสงออกมาได้ ที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Hawking Radiation
ฮอว์กิ้ง อธิบายว่า ตามทฤษฎีบิ๊กแบง เอภพถือกำเนิดมาประมาณ 12,000-15,000 ล้านปีก่อน จากสภาวะที่มีความหนาแน่นและความร้อนสูงไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า Singularity จากนั้นก็ขยายตัวไปเป็นกลุ่มก๊าซที่มีความร้อนสูง แล้วค่อยๆเย็นลง จนองค์ประกอบของสสารต่างๆ จับตัวกันเป็นโครงสร้างใหญ่ เช่น กาแล็กซี่ และดวงดาวต่างๆ อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2565