Browsing by Resource Types "งานวิจัย"
Now showing
1 - 22 of 22
Results Per Page
Sort Options
-
Itemการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : ศึกษากรณีตำบลโนนศิลาเลิง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007-05) ทวี พรมมาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ก่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิง และพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุนชนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และตรวจสอบซ้ำโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอผลงานวิจัยในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎบริเวณพื้นที่ตั้งของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงเดิมมีความสัมพันธ์กับเมืองฟ้าแดดสงยาง และมีพัฒนาการของชุมชนมาเป็นลำดับ เมื่อกลุ่มชนจากอาณาจักรล้านข้าง (ลาว) ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคอีสานจึงเกิดเป็นชุมชนใหม่ที่มีการรวมตัวกันในบริเวณพื้นที่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เหมาะสม แล้วผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เกิดเป็นศาสนาแบบชาวบ้านที่ได้รับการสสั่งสอนสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นวัตรปฏิบัติตามปฏิทินทั้งปี เรียกว่า "ฮีตสิบสอง" ด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงจึงถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ การถูกแทรกแซงและครอบงำโดยกระแสทุนนิยม อำนาจของชาติรัฐและการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
-
Itemการศึกษาวิเคราะห์ระบบยันต์ในภาคกลางของประเทศไทย(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) ณัฐธัญ มณีรัตน์ความเชื่อเรื่องยันต์ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารโบราณ พระพิมพ์ หรือจารึก ช่วยให้เราสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า เลขยันต์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว และเมื่อวิเคราะห์ดูเนื้อหาสาระของระบบยันต์ก็พบว่า ยันต์ต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่เพียงแต่ความเหมือนกันในเรื่องรูปแบบ แม้แต่องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การเสกยันต์ การสร้างหรือเขียนยันต์ ก็เหมือนกัน ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะในอดีตดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณนี้เคยได้รับเอาอิทธิพลของคำสอนมหายานและพราหมณ์-ฮินดูเอาไว้ ดังนั้นหลักคำสอนที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ศูนยตา ตรีกาย มณฑลของมหายานและรูปแบบของเทพเจ้าต่าง ๆ ของพราหมณ์-ฮินดู ก็มีปรากฏอยู่ในระบบยันต์ ในปัจจุบันยังมีเอกสารโบราณที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับยันต์ต่าง ๆ ให้ศึกษาพอสมควร ทำให้พบเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติของมหายานด้วย เช่น สมาธิเพ่งอักษร ซึ่งใช้ในการฝึกสร้างรูปแบบมณฑลในจิตซึ่งปรากฏในคัมภีร์ปถมัง ในคัมภีร์เดียวกันนี้ยังแสดงนัยยะเรื่องพระปัญจชินพุทธเจ้า และหลักศูนยตาอย่างชัดเจน ในปัจจุบันจะหาผู้ที่ศึกษาอย่างจริงจังได้น้อย มีเพียงการนำเอารูปแบบภายนอกไปประยุกต์ใช้เท่านั้นเอง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงปรัชญาที่แฝงเอาไว้ได้ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การจะทำยันต์สักยันต์หนึ่งต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ทันทีทันใดได้ เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนทางจิตเป็นปทัฏฐานเสียก่อน ส่วนอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของรูปแบบของยันต์ที่มักจะนำเอารูปเทพเจ้าต่าง ๆ มาใช้ประกอบในยันต์ เช่น รูปพระนารายณ์ รูปหนุมาน รูปพาลี แต่ไม่ปรากฏว่ามีการนำปรัชญาที่ลึกซึ้ง อาทิ แนวคิดเรื่องปรมาตมันเข้ามาในระบบยันต์ด้วย อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า การนำเอาความเชื่อเรื่องยันต์ไปสัมพันธ์กับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ก็เพื่อต้องการรักษาสารัตถะสำคัญบางอย่างเอาไว้ไม่ให้สูญหาย อย่างน้อยในเวลาต่อมา หากมีผู้สนใจศึกษาก็อาจจะได้พบปรัชญาเหล่านั้น อีกทั้งตราบใดที่ยังมีผู้ยึดถือปฏิบัติอยู่ สิ่งนั้นก็จะคงอยู่เช่นนั้น การศึกษาวิเคราะห์เรื่องยันต์จะสามารถทำให้เราเข้าใจถึงพัฒนาการและสาระสำคัญของสิ่งนี้
-
Itemโครงการวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ พื้นที่ภาคเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2009) ปราณี ตันธนาโชติ
-
Itemโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศึกษากรณีสามจังหวัดชายแดนใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ) ศิริวรรณ วิบูลย์มา ; นราวดี โลหะจินดา ; นิปาตีเมาะ หะยีหามะ ; ประสิทธิ์ รัตนมณี ; อรอุษา ปุณยบุรณะ ; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) ภรณ์รวี เจริญปุระ
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) วรรษพร อากาศแจ้ง
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) ปัฐยารัช ธรรมวงษา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008) ปัฐยารัช ธรรมวงษา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008-11) ชนน์ชนก พลสิงห์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007-10) ชนน์ชนก พลสิงห์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) นภาพร ลิขิตเรืองศิลป์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้: ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008-10) พศิน โสธรประภากร
-
Itemโครงการสำรวจความคิดเห็นของผู้เยี่ยมชมเพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์และปรับปรุงมิวเซียมสยาม ในวาระครบรอบ 2 ปี(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2010) จุลนี เทียนไทย และทีมงานวิจัย
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านโรงเรียนสองพิทยาคม(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) สุภาพ บุญญาสัย และคณะการทำวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการวิจัยพัฒนาองคืความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน โรงเรียนสองพิทยาคม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การดำเนินงานจำแนกออกเป็น 2 ตอน ตอนแรก เป็นการจัดการกับระบบการจัดเก็บ การลงทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์ จัดองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งคณะครู นักเรียนและชุมชน เพื่อทบทวนข้อมูล รวมทังศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน จนได้บทสรุปออกมาเป็นอค์ความรู้โดยการมีส่วนร่วม ตอนที่ 2 เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของชุมชนในอำเภอสอง มีการวิเคราะห์ การตีความ การตรวจสอบองค์ความรู้ การประชุม การสนทนากลุ่มย่อย การใช้แบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านโรงเรียนสองพิทยาคม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงการดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาของชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี การกินอยู่อันมีเอกลักษณ์ของชาวอำเภอสอง
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2006) สารูป ฤทธิชู ; เบ็ญจวรรณ บัวขวัญ ; ไพฑูรย์ ศิริรักษ์ ; ดวงกมล เดชน้อย ; วิจิตรา อมรวิริยะชัย ; บัณฑิต ทองนวล ; อานนท์ นวลมุสิต ; มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชนงานวิจัยเรื่อง "การสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคใต้" นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานภาพและศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งแม่ข่ายพิพิธภัณฑ์และพิพิธภัณฑ์เครือข่ายในภูมิภาค (ลูกข่ายจำนวน 10 แห่ง) รวม 11 แห่ง โดยวิธีการวิจัยแบบสำรวจผสมผสานการวิจัยเอกสาร ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายมีความเหมือนในความต่าง มีความต่างในความเหมือน และสะท้อนความเป็นภาคใต้ตามนัยสำคัญของพิพิธภัณฑ์ จำแนกตามสาระความรู้ที่มุ่งเน้นได้สี่ประเภท คือ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์บก พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์ทะเล และพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์แลสิ่งแวดล้อม แต่ละประเภทมีความพร้อมในการเป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าในบริบทที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต่ละแห่งต่างเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายตามบริบทของตนเอง เมื่อนำมาผนวกกับข้อเสนอแนะอื่นและสถานการณ์ของสังคมไทยและสังคมโลกปัจจุบันที่เป็นโลกยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ จึงขอเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพด้วยชุดโครงการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางของตนเอง ภายใต้บริบทของตนเอง แต่มีจุดมุ่งหมายหลักร่วมกันคือ การทำให้ความรู้แพร่หลายในหมู่ประชาชนและการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และเส้นทางสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ มีสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติสนับนสนุนทุนวิจัย
-
Itemรายงานการวิจัย เรื่อง คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2007) ทีมวิจัยเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดเลยโครงการศึกษาวิจัย คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ดำเนินการโดย เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดเลย สำนักข่าวเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 6 เดือน การจัดทำรายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มที่เปลี่ยนไปของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อเสนอแนะแนวทาง ทิศทางการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ การดำเนินการวิจัยภายใต้ฐานคิดเรื่อง การเรียนรู้ร่วมกัน (Social Learning) และสร้างภาวะของกลุ่มคนที่หลากหลาย (Civic group) ในพื้นที่เข้ามาร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมที่ใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย รวมทั้งแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ส่วนมากจะเป็นเจ้าของบ้านที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณกำลังจะหมดไปพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ส่วนชาวบ้านทั่วไปร้อยละ 60 ยังไม่เห็นความสำคัญของบ้านไทเลยโบราณต่อชุมชนนาอ้อ ฉะนั้น การดำเนินโครงการเรื่อง คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้ายไทเลยโบราณ จำเป็นจะต้องมีกลไกที่จะขับเคลื่อนให้ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณอย่างต่อเนื่อง จากผลการจัดเวทีวิชาการในชุมชน ทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีทราบถึงแนวโน้มเรื่อง การอนุรักษ์ พัฒนา และสืบสาน เกิดขึ้นกับหลายๆ คนในชุมชน แต่ยังไม่มีความมั่นใจในทิศทางที่จะเกิดขึ้น และเจ้าของบ้านไม่อาจจะรับมือกับแระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยลำพังได้ โครงการศึกษาวิจัย คุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ควรถือเป็นความรับผิดชอบร่วมที่จะช่วยผลักดันให้สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าไว้ให้ลูกหลายในอนาคต
-
Itemรายงานวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ; นารัตน์ ทองแท้ ; โสภิตา เสนาะจิต ; นันทวัน ขวัญศรีทองมั่น ; พระครูนิวิฐธรรมขันธ์
-
Itemรายงานวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคตะวันออก(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) วิชัย ตันกิตติกร ; เทวัญ กาญจนะ ; พรินทิพย์ แสงพิพัฒน์ ; พิชญา ชำนาญ ; สมปอง แช่มเทศ ; พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
-
Itemรายงานวิจัย เรื่อง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขามในพื้นที่กิ่งอำเภอบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) วนิดา โปแก้ว ; ปรีชา คงคะสุวัณณะ ; นพดล ไวยสุศรีการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขามให้เป็นระบบโดยศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนไทครั่งบ้านเนินขาม, ประเภทของผ้าทอ, ลักษณะ และประโยชน์ใช้สอย, วัตถุดิบที่ใช้, ลวดลาย และเทคนิคการทอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การศึกษา และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า และประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทครั่ง คณะผู้วิจัยได้ศึกษาและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์, การบันทึกเสียง, การถ่ายภาพ และการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขาม เป็นงานของเอกชนที่ไม่ได้สังกัดองค์กรใด ๆ และไม่ได้รับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานใด ๆ ของรัฐ แต่จัดตั้งขึ้นด้วยความรักและความผูกพันในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวไทครั่ง เพื่อเป็นการเผยแพร่แบ่งปันความรู้เรื่องราวทางวัฒนธรรมให้กับสังคม รูปแบบของการทอผ้าของชาวไทยครั่งได้มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น การประยุกต์อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์มาใช้กับเครืองมือทอผ้า และการใช้เส้นใยวิทยาศาสตร์ทอแทนเส้นใยธรรมชาติ (ฝ้าย,ไหม) การใช้สีเคมีแทนการใช้สีธรรมชาติ และภูมิปัญญาการทอลวดลายบนผืนผ้าที่โดดเด่นและสวยงานแบบดั้งเดิมของชาวไทครั่งกำลังจะสูญสิ้นไปกับช่างทอผ้ารุ่นเก่า เนื่องจากขาดผู้สืบทอด การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เป็นการเก็บรักษาผลงานที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แต่เหนือสิ่งอื่นใดการเก็บรักษาทักษะการทอผ้าแบบดั้งเดิมจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไป คณะผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าควรมีการกระตุ้นให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวไทครั่งซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์สืบไป เนื่องจากสิ่งทอในวัฒนธรรมไทครั่งนั้นคงมิใช่เป็นแต่เพียงมรดกของชาวไทครั่งเท่านั้น แต่ยังคงเป็นสมบัติและมรดกของชาติ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่ทุกคนควรหวงแหน The propose of this study is to ascertain and synthesize knowledge and know-how of fabric weaving heritage collected from local museums and related knowledge-based resources, Tai-Khrang Textile museum of Baan Neon Kham is used to be a case study. The study approaches deals with local history of Tai-Khrang community of Baan Neon Kham as well as categories, characteristics and utilities of their woven fabric, of which raw materials, designs and weaving techniques are major factors. It also aims to bring out their arts, culture and tradition to the learning process and to support the preservation of folk wisdom of fabric weaving skill of Tai-Khrang tribes. The researcher used various types of method to obtain data such as interview, sound and photo record and documentary study. From the study, the researchers find that the Tai-Khrang Textile museum of Baan Neon Kham has been established by private sector, inspired by love and interest in folk wisdom of Tai-Khrang's ancestors without any financial support from government sector, in order to maintain and disseminate knowledge and know-how of local intellect to the public. Since modernization era Tai-Khrang's fabric weaving process and its symbolic designs have been changed and influenced by new technologies. The disappearance of manual weaving machine, natural fibers and natural color are replaced by the introduction of electronic fabric weaving machine, synthetic fibers and chemical color. This valuable intellect of Tai-Khrang's ancestors have continuously disappeared without intellectual transfer from generation to generation. The establishment of Tai0Khrang Textile museum aims to preserve masterpieces, arts, culture and tradition inherited from the ancestors. Most of all the preservation of fabric weaving skill of Tai-Khrang tribes is one way to keep folk wisdom in existence. For the recommendations, the researchers believe that Thai people should be encouraged in realizing the value and heritage of folk wisdom of Tai-Khrang tribes, supporting the cultural and traditional preservation, making the concrete planning in terms of national cultures and providing the sufficient budget in response to the plan. Thai people should proudly present that the folk wisdom of fabric weaving of Tai-Khrang tribes is not only national heritage but also the world heritage of all mankind.
-
Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) วัดศรีสุทธาวาสลุ่มแม่น้ำลาวตอนบนช่วงพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า ในอดีตเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประเพณี และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และกลุ่มคนเมืองที่อยู่ในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรม ที่ตอนหลังสุดได้แบ่งเป็นเขตการปกครองแบบอำเภอ ตำบล ที่ทางราชการกำหนดให้ การค้าขายเข้ามาเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ในเขตวัฒนธรรมทั้งลุ่มน้ำแม่ลาวและลุ่มน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชน เป็นไปในรูปแบบการทำมาหากิน แบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในลุ่มน้ำแม่ลาว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน้ำแม่ลาว การพัฒนาที่มุ่งเน้นแต่การสร้างรายได้และแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้รูปแบบการทำมาหากินจากทำเพื่อกินเลี้ยงปากท้องอย่างเดียว ต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะเรื่องของรายได้หรือเงิน ตามเงื่อนไขของเวลาและกระแสการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจากคนหรือนโยบายภายนอกของชุมชน ชุมชนถูกกระตุ้นด้วยระบบเศรษฐกิจเพื่อพาให้วิถีชีวิตของชุมชนเข้าสู่วงจรการผลิตแบบปัจจุบัน คือ การกู้เงินเพื่อมาลงทุน ขายผลผลิตที่ได้ ขาดทุน หรือใช้เงินเพื่อซื้อความสะดวกสบาย หรือส่งลูกเรียนหนังสือ เกิดหนี้สิน กู้เงินลงทุนต่อเป็นแบบนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ งานวิจัยท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส เป็นงานวิจัยที่จัดทำโดย เจ้าอธิการบรรพต คัมภีโร เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส เจ้าคณะตำบลเวียงในปัจจุบัน ร่วมด้วยคณะพระสงฆ์ และกลุ่มเยาวชน และคณะศรัทธาวัดศรีสุทธาวาส ซึ่งเป็นการเรียบเรียงและสืบค้นหาจากคำบอกเล่า สมุดข่อย หรืจากศิลาจารึก หรือ ฯลฯ จากพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำแม่ลาวตอนบนในเขตพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย โดยศึกษารวบรวมเป็นข้อมูลเบื้องต้น ให้ผู้ที่สนใจต่อการศึกษา เรียนรู้ ในความเป็นมาของชุมชนตั้งแต่อดีตและสามารถนำข้อมูลนี้ไปปรับใช้เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดต่อพื้นที่แห่งนี้
-
Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006-11) ทนงศักดิ์ แก้วมูลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเก็บข้อมูลองค์ความรู้จากพิพิธภัณ์วัดไหล่หินหลวง พัฒนาระบบทะเบียนวัตถุให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมนักวิจัยท้องถิ่นให้สามารถจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นได้เอง พัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งอนุรักษ์เพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และยั่งยืนของท้องถิ่นเองและผู้ที่สนใจภายนอกและเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงสู่สังคมกว้างต่อไป วิธีการศึกษาผู้วิจัยใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านไหล่หิน วัดไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลในต้าน่าง ๆ แยกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 1. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของชุมชน ประกอบด้วยแผนที่ การติดต่อของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน 2. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวิธีชีวิตของผู้คนในไหล่หินทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วย รูปแบบการดำเนินชีวิต อาหารการกิน ความเป็นอยู่ ภาษาถิ่น การประกอบอาชีพในอดีตและปัจจุบัน 3. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวมรวมข้อมูลด้านข้อมูลพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากเอกสาร คำบอกเล่า บันทึกหลักฐาน ตำนานต่าง ๆ ที่มีอยู่ 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไหล่หิน ภูมิปัญญา ด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนถึงประวัติครูภูมิปัญญาผู้รู้ในท้องถิ่น 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านพิพิธภัณฑ์ของชุนชนในด้านความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการเกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ข้อมูลวัตถุโบราณชิ้นสำคัญ รูปแบบการจัดแสดงตลอดถึงกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนไหล่หิน ผู้วิจัยเห็นว่าท้องถิ่นไหล่หิน ประกอบด้วยหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน(บวร)เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นในการตระหนักถึงชุดความรู้ที่มีอยู่ของท้องถิ่น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาองค์วามรู้ที่มีอยู่ในเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า สืบทอดจากรุ่นปัจจุบันสู่รุ่นอนาคตได้เป็นอย่างดี ชุมชนมีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่มีอยู่ สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นนิทรรศการ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ การจัดการด้านเอกสาร งานทะเบียนกับวัตถุโบราณที่มีอยู่อย่างมีระบบ จนก่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์รวมข้อมูลในด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดการองค์ควมรู้ที่มีอยู่ในคงอยู่ตามแบบแผนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติ