แนะนำหนังสือ:โบราณคดีมิวเซียมสยาม{AM79.T5 d173 2563}

File type
application/pdf
Date
2023-10-21
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Citation
Rights
Licensed rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Other title(s)
Other contributor(s)
Abstract
Table of contents
แนวคิดการจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ -- แรกจัดตั้งมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ -- โบราณคดี คืออะไร -- มิวเซียมสยามกับการขุดค้นทางโบราณคดี -- ประวัติศาสตร์ความสำคัญของพื้นที่มิวเซียมสยาม -- ป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิไชยเยนทร์ -- วังท้ายวัดพระเชตุพนฯ -- รื้อวังท้ายวัดพระเชตุพนฯ สร้างกระทรวงพาณิชย์ -- ย้อนภาพอดีต 100 ปี พื้นที่กระทรวงพาณิชย์
Description
เป็นที่ทราบกันดีว่าภายหลังการผลัดแผ่นดินจากสมเด็จพระณารายณ์มหาราช มาสู่สมเด็จพระเทพราชานั้น พระราชกรณียกิจลำดับแรกๆของสมเด็จพระเพทราชาคือ การขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกจากสยาม จนถึงขั้นมีการสู้รบกัน และหนึ่งในสมรภูมิรบนั้นก็คือบริเวณป้อมเมืองบางกอก หรือส่วนหนึ่งของพื้นที่ในมิวเซียมสยามนั่นเอง จากหนังสือโบราณคดีมิวเซียมสยาม (เลขเรียกหนังสือ AM79.T5 d173 2563) เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ ที่ได้มาทำการขุดคุ้นทางโบราณคดีที่มิวเซียมสยามเมื่อปี พ.ศ.2548 โดยระบุว่า “ณ ที่แห่งนี้ คือแหล่งโบราณคดีที่เคยมีการขุดค้นพื้นที่กว้างขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก” ซึ่งจากการขุดค้นทำให้ค้นพบฐานป้อมรูปแฉกก่อด้วยอิฐ ซึ่งเป็นลักษณะป้อมที่ได้รับความนิยมในสมัยเรอเนซองส์ในอิตาลี ก่อนแพร่กระจายไปทั่วยุโรปทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และฮอลันดา “ภายหลังจากการขับไล่ฝรั่งเศสออกไปได้แล้ว พระองค์(สมเด็จพระเทพราชา) โปรดให้รื้อป้อมฝั่งตะวันออกบางส่วนเสีย เพื่อไม่ให้เป็นที่ซ่องสุมต่อไปได้ เหตุการณ์เรื่องการสร้างป้อมและเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารอยุธยาและฝรั่งเศสปรากฎในบันทึกและแผนที่หลายฉบับ” “จากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้พบฐานรากของป้อมก่อด้วยอิฐเรียงเป็นแถว มีแผนผังเป็นแฉก โดนอิฐมีขนาดใหญ่แบบอิฐโบราณขนาดยาว 20-30 เซนติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร และยังพบเครื่องถ้วยจีนที่กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย อย่างไรก็ตาม ฐานรากของป้อมที่พบถูกอาคารสมัยใหม่สร้างทับ ทำให้พบแนวฐสนรากของอาคารคอนกรีตซ้อนทับไปมา”
Sponsorship
Keywords
Youtube
Collections