แนะนำหนังสือ : ประวัติศาสตร์แปลกๆในสยาม [DS 572 .ก66 2565]

File type
application/pdf
Date
2023-04-06
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Editor(s)
Other contributor(s)
Abstract
หากพูดถึงอาหารไทย หลายคนต้องคิดถึงอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ หรือแกงต่างๆที่ใส่น้ำแกงเพื่อให้น้ำซุปมีรสชาติเข้มข้น แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว บรรพบุรุษของเราน่าจะเริ่มกินอาหารรสเผ็ดเมื่อครั้งปลายกรุงเศรีอยุธยานี่เอง จากหนังสือ ประวัติศาสตร์แปลกๆในสยาม โดย กิตติ โล่ห์เพชรัตน์ ที่รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์แปลกๆของไทยไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนไทยกินของแปลก อาหารที่ผสมผสานกลมกลืน หรือ คนไทยกินอย่างไร คนกรุงศรีฯไม่ได้กินเผ็ดอย่างที่คิด ที่ได้ระบุไว้ว่า “ส่วนเรื่องความเผ็ด หรือ พริก ดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยในปัจจุบัน แต่บรรดาพริกทั้งหลาย (ไม่รวมพริกไทย) มีต้นกำเนิดในทวีปอเมริกา โดยพริกมีการแพร่พันธ์ุไปทั่วโลกหลังจาก คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกาเมื่อปร พ.ศ. 2035 จึงกล่าวได้ว่าก่อนสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 คนไทยไม่รู้จักพริก อาหารไทยจึงไม่น่ามีรสเผ็ด” สอดคล้องกับบันทึกของลา ลูแบร์ กล่าวไว้ว่า “อาหารชาววังคืออาหารชาวบ้าน แต่มีการนำเสนอที่สวยงาม ไม่มีก้าง ไม่มีกระดูก เนื้อต้องเปื่อยนุ่ม ไม่มีของแข็ง ผักก็ต้องพอดีคำ หากมีเมล็ดต้องนำออก ถ้าเป็นเนื้อสันก็เป็นสันใน กุ้งก็ต้องเป็นกุ้งแม่น้ำ ไม่มีหัว ไม่ใช้ของหมักดองหรือของอะไรที่คาว” จะเห็นได้ว่า เรื่องราวของการกิน ล้วนเกิดจากการรับ ปรับ ใช้ จากวัตถุดิบและผู้สร้างเมนูอาหารแทบทั้งสิ้น อาหารไทยในปัจจุบันก็ล้วนมีรากของความเป็นอดีตที่รสชาติไม่เคยหายไปไหน แต่รสชาติที่หายไปคงเป็นความกลมกล่อม หรืออาหารรสจืดก่อนที่พริกจะเข้ามาเพิ่มความจัดจ้านให้อาหารไทยก็เป็นได้ สำหรับหนังสือ ประวัติศาสตร์แปลกๆในสยาม โดย กิตติ โล่ห์เพชรัตน์
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2566
Sponsorship
Keywords
Subject(s)
Youtube