Browsing by Subject "การจัดการพิพิธภัณฑ์"
Now showing
1 - 17 of 17
Results Per Page
Sort Options
-
Itemการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : ศึกษากรณีตำบลโนนศิลาเลิง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007-05) ทวี พรมมาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ก่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิง และพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุนชนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และตรวจสอบซ้ำโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอผลงานวิจัยในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎบริเวณพื้นที่ตั้งของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงเดิมมีความสัมพันธ์กับเมืองฟ้าแดดสงยาง และมีพัฒนาการของชุมชนมาเป็นลำดับ เมื่อกลุ่มชนจากอาณาจักรล้านข้าง (ลาว) ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคอีสานจึงเกิดเป็นชุมชนใหม่ที่มีการรวมตัวกันในบริเวณพื้นที่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เหมาะสม แล้วผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เกิดเป็นศาสนาแบบชาวบ้านที่ได้รับการสสั่งสอนสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นวัตรปฏิบัติตามปฏิทินทั้งปี เรียกว่า "ฮีตสิบสอง" ด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงจึงถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ การถูกแทรกแซงและครอบงำโดยกระแสทุนนิยม อำนาจของชาติรัฐและการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
-
Itemโครงการวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ พื้นที่ภาคเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2009) ปราณี ตันธนาโชติ
-
Itemโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศึกษากรณีสามจังหวัดชายแดนใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ) ศิริวรรณ วิบูลย์มา ; นราวดี โลหะจินดา ; นิปาตีเมาะ หะยีหามะ ; ประสิทธิ์ รัตนมณี ; อรอุษา ปุณยบุรณะ ; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) ภรณ์รวี เจริญปุระ
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) วรรษพร อากาศแจ้ง
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007) ปัฐยารัช ธรรมวงษา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008) ปัฐยารัช ธรรมวงษา
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008-11) ชนน์ชนก พลสิงห์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007-10) ชนน์ชนก พลสิงห์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ : ภาคเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) นภาพร ลิขิตเรืองศิลป์
-
Itemโครงการสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้: ภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2008-10) พศิน โสธรประภากร
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านโรงเรียนสองพิทยาคม(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) สุภาพ บุญญาสัย และคณะการทำวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการวิจัยพัฒนาองคืความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน โรงเรียนสองพิทยาคม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การดำเนินงานจำแนกออกเป็น 2 ตอน ตอนแรก เป็นการจัดการกับระบบการจัดเก็บ การลงทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์ จัดองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งคณะครู นักเรียนและชุมชน เพื่อทบทวนข้อมูล รวมทังศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน จนได้บทสรุปออกมาเป็นอค์ความรู้โดยการมีส่วนร่วม ตอนที่ 2 เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของชุมชนในอำเภอสอง มีการวิเคราะห์ การตีความ การตรวจสอบองค์ความรู้ การประชุม การสนทนากลุ่มย่อย การใช้แบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านโรงเรียนสองพิทยาคม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงการดำเนินชีวิต ภูมิปัญญาของชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี การกินอยู่อันมีเอกลักษณ์ของชาวอำเภอสอง
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-
Itemรายงานการวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคใต้(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2006) สารูป ฤทธิชู ; เบ็ญจวรรณ บัวขวัญ ; ไพฑูรย์ ศิริรักษ์ ; ดวงกมล เดชน้อย ; วิจิตรา อมรวิริยะชัย ; บัณฑิต ทองนวล ; อานนท์ นวลมุสิต ; มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชนงานวิจัยเรื่อง "การสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคใต้" นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานภาพและศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งแม่ข่ายพิพิธภัณฑ์และพิพิธภัณฑ์เครือข่ายในภูมิภาค (ลูกข่ายจำนวน 10 แห่ง) รวม 11 แห่ง โดยวิธีการวิจัยแบบสำรวจผสมผสานการวิจัยเอกสาร ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายมีความเหมือนในความต่าง มีความต่างในความเหมือน และสะท้อนความเป็นภาคใต้ตามนัยสำคัญของพิพิธภัณฑ์ จำแนกตามสาระความรู้ที่มุ่งเน้นได้สี่ประเภท คือ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์บก พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพืชและสัตว์ทะเล และพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์แลสิ่งแวดล้อม แต่ละประเภทมีความพร้อมในการเป็นพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าในบริบทที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต่ละแห่งต่างเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายตามบริบทของตนเอง เมื่อนำมาผนวกกับข้อเสนอแนะอื่นและสถานการณ์ของสังคมไทยและสังคมโลกปัจจุบันที่เป็นโลกยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ จึงขอเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพด้วยชุดโครงการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางของตนเอง ภายใต้บริบทของตนเอง แต่มีจุดมุ่งหมายหลักร่วมกันคือ การทำให้ความรู้แพร่หลายในหมู่ประชาชนและการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และเส้นทางสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ มีสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติสนับนสนุนทุนวิจัย
-
Itemรายงานวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคกลาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ; นารัตน์ ทองแท้ ; โสภิตา เสนาะจิต ; นันทวัน ขวัญศรีทองมั่น ; พระครูนิวิฐธรรมขันธ์
-
Itemรายงานวิจัย โครงการวิจัยสำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในเครือข่ายภาคตะวันออก(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) วิชัย ตันกิตติกร ; เทวัญ กาญจนะ ; พรินทิพย์ แสงพิพัฒน์ ; พิชญา ชำนาญ ; สมปอง แช่มเทศ ; พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
-
Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006-11) ทนงศักดิ์ แก้วมูลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเก็บข้อมูลองค์ความรู้จากพิพิธภัณ์วัดไหล่หินหลวง พัฒนาระบบทะเบียนวัตถุให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมนักวิจัยท้องถิ่นให้สามารถจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นได้เอง พัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งอนุรักษ์เพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และยั่งยืนของท้องถิ่นเองและผู้ที่สนใจภายนอกและเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงสู่สังคมกว้างต่อไป วิธีการศึกษาผู้วิจัยใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านไหล่หิน วัดไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลในต้าน่าง ๆ แยกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 1. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของชุมชน ประกอบด้วยแผนที่ การติดต่อของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน 2. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวิธีชีวิตของผู้คนในไหล่หินทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วย รูปแบบการดำเนินชีวิต อาหารการกิน ความเป็นอยู่ ภาษาถิ่น การประกอบอาชีพในอดีตและปัจจุบัน 3. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวมรวมข้อมูลด้านข้อมูลพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากเอกสาร คำบอกเล่า บันทึกหลักฐาน ตำนานต่าง ๆ ที่มีอยู่ 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไหล่หิน ภูมิปัญญา ด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนถึงประวัติครูภูมิปัญญาผู้รู้ในท้องถิ่น 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านพิพิธภัณฑ์ของชุนชนในด้านความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการเกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ข้อมูลวัตถุโบราณชิ้นสำคัญ รูปแบบการจัดแสดงตลอดถึงกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนไหล่หิน ผู้วิจัยเห็นว่าท้องถิ่นไหล่หิน ประกอบด้วยหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน(บวร)เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นในการตระหนักถึงชุดความรู้ที่มีอยู่ของท้องถิ่น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาองค์วามรู้ที่มีอยู่ในเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า สืบทอดจากรุ่นปัจจุบันสู่รุ่นอนาคตได้เป็นอย่างดี ชุมชนมีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่มีอยู่ สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นนิทรรศการ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ การจัดการด้านเอกสาร งานทะเบียนกับวัตถุโบราณที่มีอยู่อย่างมีระบบ จนก่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์รวมข้อมูลในด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดการองค์ควมรู้ที่มีอยู่ในคงอยู่ตามแบบแผนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติ