Research Reports
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research Reports by Subject "คติชาวบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)"
Now showing
1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
-
Itemรายงานการวิจัย เรื่อง คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2007) ทีมวิจัยเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดเลยโครงการศึกษาวิจัย คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ดำเนินการโดย เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดเลย สำนักข่าวเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 6 เดือน การจัดทำรายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มที่เปลี่ยนไปของสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เพื่อเสนอแนะแนวทาง ทิศทางการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ การดำเนินการวิจัยภายใต้ฐานคิดเรื่อง การเรียนรู้ร่วมกัน (Social Learning) และสร้างภาวะของกลุ่มคนที่หลากหลาย (Civic group) ในพื้นที่เข้ามาร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมที่ใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย รวมทั้งแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ ส่วนมากจะเป็นเจ้าของบ้านที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณกำลังจะหมดไปพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ส่วนชาวบ้านทั่วไปร้อยละ 60 ยังไม่เห็นความสำคัญของบ้านไทเลยโบราณต่อชุมชนนาอ้อ ฉะนั้น การดำเนินโครงการเรื่อง คุณค่าของสถาปัตยกรรมบ้ายไทเลยโบราณ จำเป็นจะต้องมีกลไกที่จะขับเคลื่อนให้ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมบ้านไทเลยโบราณอย่างต่อเนื่อง จากผลการจัดเวทีวิชาการในชุมชน ทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีทราบถึงแนวโน้มเรื่อง การอนุรักษ์ พัฒนา และสืบสาน เกิดขึ้นกับหลายๆ คนในชุมชน แต่ยังไม่มีความมั่นใจในทิศทางที่จะเกิดขึ้น และเจ้าของบ้านไม่อาจจะรับมือกับแระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยลำพังได้ โครงการศึกษาวิจัย คุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยบ้านไทเลยโบราณ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ควรถือเป็นความรับผิดชอบร่วมที่จะช่วยผลักดันให้สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าไว้ให้ลูกหลายในอนาคต