Research Reports
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing Research Reports by Subject "การจัดการความรู้ร่วมชุมชน -- ไทย -- ลำปาง"
Now showing
1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
-
Itemรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006-11) ทนงศักดิ์ แก้วมูลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเก็บข้อมูลองค์ความรู้จากพิพิธภัณ์วัดไหล่หินหลวง พัฒนาระบบทะเบียนวัตถุให้ได้มาตรฐานสากล ส่งเสริมนักวิจัยท้องถิ่นให้สามารถจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นได้เอง พัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งอนุรักษ์เพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และยั่งยืนของท้องถิ่นเองและผู้ที่สนใจภายนอกและเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงสู่สังคมกว้างต่อไป วิธีการศึกษาผู้วิจัยใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านไหล่หิน วัดไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลในต้าน่าง ๆ แยกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 1. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของชุมชน ประกอบด้วยแผนที่ การติดต่อของชุมชนในอดีตและปัจจุบัน 2. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวิธีชีวิตของผู้คนในไหล่หินทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประกอบด้วย รูปแบบการดำเนินชีวิต อาหารการกิน ความเป็นอยู่ ภาษาถิ่น การประกอบอาชีพในอดีตและปัจจุบัน 3. ศึกษาและสังเคราะห์เก็บรวมรวมข้อมูลด้านข้อมูลพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากเอกสาร คำบอกเล่า บันทึกหลักฐาน ตำนานต่าง ๆ ที่มีอยู่ 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไหล่หิน ภูมิปัญญา ด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนถึงประวัติครูภูมิปัญญาผู้รู้ในท้องถิ่น 4. ศึกษาและสังเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้านพิพิธภัณฑ์ของชุนชนในด้านความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการเกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ข้อมูลวัตถุโบราณชิ้นสำคัญ รูปแบบการจัดแสดงตลอดถึงกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนไหล่หิน ผู้วิจัยเห็นว่าท้องถิ่นไหล่หิน ประกอบด้วยหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน(บวร)เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นในการตระหนักถึงชุดความรู้ที่มีอยู่ของท้องถิ่น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาองค์วามรู้ที่มีอยู่ในเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า สืบทอดจากรุ่นปัจจุบันสู่รุ่นอนาคตได้เป็นอย่างดี ชุมชนมีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่มีอยู่ สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นนิทรรศการ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ การจัดการด้านเอกสาร งานทะเบียนกับวัตถุโบราณที่มีอยู่อย่างมีระบบ จนก่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์รวมข้อมูลในด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดการองค์ควมรู้ที่มีอยู่ในคงอยู่ตามแบบแผนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติ