Browsing by Author "ศักดิ์ชัย สายสิงห์"
Now showing
1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
-
Itemแนะนำหนังสือ : งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ [N7321 .ร6 ศ63]( 2024-03-28) ศักดิ์ชัย สายสิงห์ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ถือว่าเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในและนอกเขตพระนคร ถึงกับมีระบุไว้ในเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ 3 ไว้ว่า “ทูลเรื่องอื่นมิได้ชื่นเหมือนเรื่องวัด เวียนแต่ตรัสถามไต่ให้ไฝ่ฝัน...” จากประโยคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัชกาลที่ 3 นั้นโปรดในเรื่องของการสร้างวัด ทั้งในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่สร้างตั้งแต่ครั้งรัชกาล ที่ 1 รวมไปถึงวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคของพระองค์เอง นั่นเลยทำให้หลายๆวัดในกรุงเทพในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยศิลปะงานช่างจากยุครัชกาลที่ 3 อยู่ หนังสือ งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ (เลขเรียกหนังสือ N7321 .ร6 ศ63) โดยศักดิ์ชัย สายสิงห์ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเฉพาะการเปลี่ยนการสร้างวัดตามประเพณีนิยม กล่าวคือการใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลัก มาเป็นการสร้างตามพระราชนิยม ที่ใช้การก่ออิฐถือปูน ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อความคงทนแข็งแรงแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญจากการเกณฑ์ช่างจีนมาช่วยก่อสร้าง “ในรัชสมัยนี้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นใหม่อย่างมากมาย จำเป็นต้องระดมช่างเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดช่างฝีมือดีมาทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะการสร้างแบบประเพณีนิยมที่ต้องแกะสลักช่อฟ้า หน้าบัน ถ้าต้องรอช่างเหล่านี้คงต้องใช้เวลานานจึงไม่ทันการ พระองค์จึงทรงเกณฑ์ช่างจีนมาช่วยสร้างงาน ดังนั้น รูปแบบของอาคารจึงเปลี่ยนแปลงไปตามความสามารถของช่างจีน”
-
Itemแนะนำหนังสือ : พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน (เลขเรียกหนังสือ N8193.2 .ศ626 2556)( 2024-09-11) ศักดิ์ชัย สายสิงห์“พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 คือ การทำพระพุทธรูปกึ่งสมจริง ที่มีจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ครองสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่เหมือนจริง อันเป็นการปรับรูปแบบของพระพุทธรูปให้เข้ากับแนวคิดแบบสัจนิยม” และด้วยการเป็นพระพุทธรูปสมัยนิยมนี่เอง ทำให้รัชกาลที่ 4 ได้ทรงให้หล่อ “พระนิรันตราย” จำนวน 18 องค์ ให้เท่ากับปีที่อยู่ในราชสมบัติ แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สานต่อพระราชปณิธานโดยการปรับให้มีซุ้มเรือนแก้ว โดยยอดซุ้มมีมหามงกุฎ และจารึกบทอิติปิโสภควา 9 วรรค ก่อนพระราชทานให้วัดในธรรมยุติกนิกาย 18 แห่ง ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายที่ “พระนิรันตราย” ที่ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้ถูกขโมยไปเกือบ 6 ปี โดยอยู่ระหว่างการติดตามหาคืนโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ “พระนิรันตรายนี้” ได้คืนสู่วัดราชประดิษฐ์ฯ อีกครั้งหนึ่ง