Browsing by Subject "สังคมอีสาน"
Now showing
1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
-
Itemการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : ศึกษากรณีตำบลโนนศิลาเลิง กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2007-05) ทวี พรมมาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ก่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิง และพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุนชนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และตรวจสอบซ้ำโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอผลงานวิจัยในแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎบริเวณพื้นที่ตั้งของชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงเดิมมีความสัมพันธ์กับเมืองฟ้าแดดสงยาง และมีพัฒนาการของชุมชนมาเป็นลำดับ เมื่อกลุ่มชนจากอาณาจักรล้านข้าง (ลาว) ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคอีสานจึงเกิดเป็นชุมชนใหม่ที่มีการรวมตัวกันในบริเวณพื้นที่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เหมาะสม แล้วผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เกิดเป็นศาสนาแบบชาวบ้านที่ได้รับการสสั่งสอนสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นวัตรปฏิบัติตามปฏิทินทั้งปี เรียกว่า "ฮีตสิบสอง" ด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนท้องถิ่นตำบลโนนศิลาเลิงจึงถือเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ การถูกแทรกแซงและครอบงำโดยกระแสทุนนิยม อำนาจของชาติรัฐและการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
-
Itemพิพิธภัณฑ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)