MuseumSiam Researches
Permanent URI for this community
Browse
Browsing MuseumSiam Researches by Subject "การบริหารองค์ความรู้ -- ไทย -- ชัยนาท"
Now showing
1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
-
Itemรายงานวิจัย เรื่อง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขามในพื้นที่กิ่งอำเภอบ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท(สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.), 2006) วนิดา โปแก้ว ; ปรีชา คงคะสุวัณณะ ; นพดล ไวยสุศรีการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ใกล้เคียง กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขามให้เป็นระบบโดยศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนไทครั่งบ้านเนินขาม, ประเภทของผ้าทอ, ลักษณะ และประโยชน์ใช้สอย, วัตถุดิบที่ใช้, ลวดลาย และเทคนิคการทอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การศึกษา และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า และประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทครั่ง คณะผู้วิจัยได้ศึกษาและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์, การบันทึกเสียง, การถ่ายภาพ และการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทครั่งบ้านเนินขาม เป็นงานของเอกชนที่ไม่ได้สังกัดองค์กรใด ๆ และไม่ได้รับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานใด ๆ ของรัฐ แต่จัดตั้งขึ้นด้วยความรักและความผูกพันในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวไทครั่ง เพื่อเป็นการเผยแพร่แบ่งปันความรู้เรื่องราวทางวัฒนธรรมให้กับสังคม รูปแบบของการทอผ้าของชาวไทยครั่งได้มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น การประยุกต์อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์มาใช้กับเครืองมือทอผ้า และการใช้เส้นใยวิทยาศาสตร์ทอแทนเส้นใยธรรมชาติ (ฝ้าย,ไหม) การใช้สีเคมีแทนการใช้สีธรรมชาติ และภูมิปัญญาการทอลวดลายบนผืนผ้าที่โดดเด่นและสวยงานแบบดั้งเดิมของชาวไทครั่งกำลังจะสูญสิ้นไปกับช่างทอผ้ารุ่นเก่า เนื่องจากขาดผู้สืบทอด การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เป็นการเก็บรักษาผลงานที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แต่เหนือสิ่งอื่นใดการเก็บรักษาทักษะการทอผ้าแบบดั้งเดิมจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไป คณะผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าควรมีการกระตุ้นให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวไทครั่งซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์สืบไป เนื่องจากสิ่งทอในวัฒนธรรมไทครั่งนั้นคงมิใช่เป็นแต่เพียงมรดกของชาวไทครั่งเท่านั้น แต่ยังคงเป็นสมบัติและมรดกของชาติ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่ทุกคนควรหวงแหน The propose of this study is to ascertain and synthesize knowledge and know-how of fabric weaving heritage collected from local museums and related knowledge-based resources, Tai-Khrang Textile museum of Baan Neon Kham is used to be a case study. The study approaches deals with local history of Tai-Khrang community of Baan Neon Kham as well as categories, characteristics and utilities of their woven fabric, of which raw materials, designs and weaving techniques are major factors. It also aims to bring out their arts, culture and tradition to the learning process and to support the preservation of folk wisdom of fabric weaving skill of Tai-Khrang tribes. The researcher used various types of method to obtain data such as interview, sound and photo record and documentary study. From the study, the researchers find that the Tai-Khrang Textile museum of Baan Neon Kham has been established by private sector, inspired by love and interest in folk wisdom of Tai-Khrang's ancestors without any financial support from government sector, in order to maintain and disseminate knowledge and know-how of local intellect to the public. Since modernization era Tai-Khrang's fabric weaving process and its symbolic designs have been changed and influenced by new technologies. The disappearance of manual weaving machine, natural fibers and natural color are replaced by the introduction of electronic fabric weaving machine, synthetic fibers and chemical color. This valuable intellect of Tai-Khrang's ancestors have continuously disappeared without intellectual transfer from generation to generation. The establishment of Tai0Khrang Textile museum aims to preserve masterpieces, arts, culture and tradition inherited from the ancestors. Most of all the preservation of fabric weaving skill of Tai-Khrang tribes is one way to keep folk wisdom in existence. For the recommendations, the researchers believe that Thai people should be encouraged in realizing the value and heritage of folk wisdom of Tai-Khrang tribes, supporting the cultural and traditional preservation, making the concrete planning in terms of national cultures and providing the sufficient budget in response to the plan. Thai people should proudly present that the folk wisdom of fabric weaving of Tai-Khrang tribes is not only national heritage but also the world heritage of all mankind.