Browsing by Author "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
Now showing
1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
-
Itemแนะนำหนังสือ : เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ [GT3278 ส765 2560]( 2021-10-14) สุจิตต์ วงษ์เทศพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ซึ่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ยังความเสียใจแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดไม่ได้ และเมื่อวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง วันนี้ ห้องคลังความรู้ขอเชิญทุกท่านหวนรำลึกถึงคติ ความเชื่อ ของการสร้างงานพระเมรุมาศของในหลวงรัชกาลที่ 9 กันครับ หนังสือ “เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ” เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความจากนักวิชาการ 19 ท่าน ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรมหลังความตาย โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน คือ 1. คติความเชื่อหลังความตาย ที่จะทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงคติความเชื่อ พิธีกรรมหลังความตายที่แตกต่างกัน ระหว่างพิธีศพสามัญชนกับเจ้านาย 2. พิธีกรรมต่างๆ ในระหว่างการตั้งพระบรมศพ และการปฏิบัติตนของผู้ที่มีชีวิตในอดีต ทั้งพิธีพุทธและ พิธีกงเต๊กหลวง รวมไปถึงการประโคมย่ำค่ำ 3. กระบวนการแห่พระบรมศพและพระเมรุ ที่มีการสืบค้นผ่านภาพวาดริ้วกระบวนแห่งานพระบรมศพของสมเด็จพระเพทราชา 4. การถวายพระเพลิงและพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายหลัง ทุกท่านจะได้เห็นกระบวนพระราชพิธีตั้งแต่โบราณ ที่ใช้การเผาด้วยท่อนจันทน์ และการเก็บพระบรมอัฐิ จากการนำไปลอยน้ำสู่การเก็บไว้ยังใต้ฐานพระ งานพระราชพิธีพระบรมศพ ถือเป็นพิธีสำคัญที่สะท้อนถึงความเชื่อของการเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งในอดีตงานพระราชพิธีเหล่านี้จะมีแค่ผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะมีโอกาสได้ศึกษา ได้รู้ ได้เห็น หนังสือเล่มนี้จะทำให้ทุกท่านได้ศึกษาพระราชพิธีเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ท่านผู้อ่านที่สนใจ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม เพื่อรับบริการยืม-คืนหนังสือผ่านไปรษณีย์ หรือหากห้องคลังความรู้พร้อมเปิดให้บริการในพื้นที่ได้แล้ว จะมาใช้บริการอ่านที่ห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม ทางเราก็ยินดีให้ บริการครับ
-
Itemแนะนำหนังสือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ (เลขเรียกหนังสือ DS 578.34 ส75 2540)( 2024-10-26) สุจิตต์ วงษ์เทศท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นถือเป็นตำแหน่งพระสนมเอกทั้ง 4 ที่ประกอบไปด้วย ท้าวอินทรสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าศรีจุฬาลักษณ์ สำหรับท้าวศรีสุดาจันทร์ที่ถูกพูดถึงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากที่สุดคงหนีไม่พ้นท้าวศรีสุดาจันทร์ในสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจจากการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ทำให้เรื่องราวของท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ถูกพูดถึงทั้งในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ วันนี้ ห้องคลังความรู้ มิวเซียมสยาม ขอชวนทุกคนมารู้จักเรื่องราวของท้าวศรีสุดาจันทร์ ผ่านหนังสือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ “แม่หยัวเมือง” ใครว่าหล่อนชั่ว? สำหรับหนังสือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ “แม่หยัวเมือง” ใครว่าหล่อนชั่ว? โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ได้รวบรวมเรื่องราวของท้าวศรีสุดาจันทร์ ทั้งจากเอกสารไทยและต่างประเทศ และยังสืบค้นถึงปูมหลังของท้าวศรีสุดาจันทร์ ว่าเป็นตัวแทนจากราชวงศ์ละโว้ - อโยธยา ซึ่งเป็นการแผ่พระราชอำนาจโดยการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช หัวเมืองฝ่ายเหนือถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์ โดยเห็นได้จากการที่ไม่มีการตั้งเจ้านายขึ้นที่เมืองเหนืออีกต่อไป นั่นเลยทำให้หลังการสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งเป็นมารดาของพระยอดฟ้า พระราชโอรสที่ได้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระไชยราชาได้รับการขนานนามว่าแม่หยัวเมือง ซึ่งอาจมาจากคำว่า แม่อยู่หัวเมือง ซึ่งหมายถึงสนมเอกคู่บัลลังก์ที่มีราชกุมาร นั่งเลยทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์ยิ่งมีอำนาจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่มีอำนาจนี้เองย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับราชวงศ์อื่นซึ่งต่างหวังช่วงชิงอำนาจในการปกครองกรุงศรีอยุธยา “ขุนพิเรนทรเทพเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยกับขุนอินทรเทพเชื้อสายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้นคิดสำคัญในการกำจัดท้าวศรีสุดจันทร์ เพราะถ้าปล่อยให้เป้าหมายทางการเมือง 2 อย่างสัมฤทธิ์ผล ก็เป็นอันว่าต้องอยู่ภายใต้อำนาจกรุงศรีอยุธยาต่อไปไม่มีวันได้กลับคืนไปฟื้นฟูบ้านเมืองเดิม”
-
Itemแนะนำหนังสือ:นาคมาจากไหน[GR830.น6 ส73 2554]( 2022-11-03) สุจิตต์ วงษ์เทศนาคมาจากไหน ? ใครรู้บ้าง นาคกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ประเภทสัตว์ในตำนาน ซึ่งเป็นการประกาศเชิงสัญลักษณ์ อีกทั้งต่อยอดเป็น soft power ในการนำทุนวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นายกบแดงขอนำเสนอหนังสือเกี่ยวกับนาค สัตว์ในตำนานที่มีที่มา ที่ไปอย่างไรบ้าง เชิญอ่านกันเลยครับ นาค เกิดจากรากศัพท์ความหมายว่า “เปลือย” มีความหมายหลากหลาย เช่น เป็นผู้ประเสริฐหรือคนโดยสมบูรณ์ เพราะเปลือย ไม่มีขน จึ้งต่างจากลิง เป็นคนเจริญเพราะเปลือย ไม่ไว้เครารุงรังเหมือนชาวป่า หมายถึง งู เพราะ งู เป็นสัตว์เปลือย ไม่มีขนหรือปีกปิดตัวในโลกของความเป็นจริง นาคอาจเป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ แต่ในโลกของความเชื่อ นาคเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ขลัง และมีอำนาจน่าเกรงขาม นาคเป็นทั้งสัญลักษณ์ของกลุ่มชนดั้งเดิมในมณฑลยูนนานแล้วย้ายลงมาแถวลุ่มน้ำโขง จนมีคำกล่าวในหนังสืออุรังคธาตุว่า “เมืองสุวรรณภูมินี้เป็นที่อยู่แห่งนาคทั้งหลาย” นาคเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าแห่งดินและน้ำ เพราะงูอยู่กับดินและน้ำอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อให้เกิดพืชพันธุ์ธัญญาหารและกุ้ง หอย ปู ปลา อันเป็นอาหารของมนุษย์นอกจากนั้นนาคยังสิงสถิตอยู่นาคพิภพหรือเมืองบาดาลซึ่งอยู่ใต้ดินอันเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำ และคุ้มครองแม่น้ำโขงในเล่มยังมีเรื่องปราบนาคให้นับถือศาสนา นาคช่วยสร้างเมืองให้คนอยู่ พิชิตคนพาล อภิบาลคนดี ความขัดแย้งระหว่างนาคกับมนุษย์ พิธีกรรมที่มาจากนาค เป็นต้น