Browsing by Author "วอลเตอร์ เอฟ เวลลา"
Now showing
1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
-
Itemแนะนำหนังสือ:แผ่นดินพระนั่งเกล้า[DS578 .ป466 2551]( 2022-03-31) วอลเตอร์ เอฟ เวลลาวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี คณะรัฐมนตรีประกาศให้เป็นวันมหาเจษฎาบดินทร์ แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 วอลเตอร์ เวลลา ผู้เขียนได้เขียนเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นนี้โดยรวบรวมหลักฐานจากหลายแหล่งข้อมูลทั้งไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ที่มีผู้บันทึกไว้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ ในมุมมองของชาวต่างชาติ ฉายให้เห็นความเป็นไปของประเทศสยามในยุคเกือบ 200 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ไม่ค่อยจะมีผู้ถวายพระเกียรติหรือยกย่องให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระองค์เป็นผู้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง และวางรากฐานกิจการต่างประเทศไว้เตรียมรับภัยอันตรายอันเกิดจากการล่าอาณานิคม ในเรื่องจะแบ่งเป็นตอนๆ ตั้งแต่ 1) พระมหากษัตริย์กับราชสำนัก การที่พระองค์เองเมื่อตอนครองราชย์อยู่ก็อยากแต่งตั้งรัชทายาทต่อจากพระองค์เช่นกัน แต่ก็ไม่ได้แต่งตั้งเพราะเกรงพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้าน จึงโยนไปให้เสนาบดี ได้แต่ปรารภว่าไม่อยากให้มีการนองเลือดคราวผลัดแผ่นดิน ประกอบกับพระองค์ประชวรหนักใกล้สวรรคต จึงไม่มีอิทธิพลที่จะทัดทาน เหล่าเสนาบดีที่จะทูลเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์ต่อ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับราษฎร 3)การพระศาสนา 4) ศิลปะและวรรณคดี 5) สัมพันธภาพระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ แม้ว่าการพัฒนาประเทศในสมัยของพระองค์จะเป็นในรูปแบบเก่าแก่ดั้งเดิมแบบ”สยามเก่า” (Old Siam) คือ ยังคงเหมือนเดิมก่อนหน้านั้น สนใจในกิจการภายในประเทศ จุดรวมความสนใจของประชาชนอยู่ที่พระมหากษัตริย์ รัฐบาลทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและการเก็บภาษีรายได้ และในระหว่างนั้น พระองค์ก็เริ่มดำเนินนโยบายรับพวกฝรั่งเข้ามามากขึ้น จึงทำให้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งที่เรียนรู้วัฒนธรรม ภาษากับฝรั่ง แต่พระองค์ก็มิได้ประสงค์จะเปลี่ยนวิถีชิวิตหรือขนบธรรมเนียม พระองค์ทรงเห็นว่าอันตรายอันจะบังเกิดจากจากอิทธิพลของฝรั่ง กับอันตรายจะบังเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามความประสงค์ของพวกฝรั่งแล้ว ทรงสรุปว่าอันตรายจากอิทธิพลของพวกฝรั่งนั้นรุนแรงมากกว่า แต่มีชนเพียงกลุ่มน้อยที่มีความห่วงใยในปัญหานี้ ขณะที่พวกที่ยกยอปอปั้นฝรั่ง เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพล ซึ่งฝ่ายพวกหลังนี่เองที่ได้มีอำนาจขึ้นมา หลังจากสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 พวกเหล่านี้ได้เปิดประตูต้อนรับอารยธรรมตะวันตก และนำประเทศไปสู่ศักราชแห่ง “สยามใหม่” (New Siam) มาจนถึงปัจจุบัน