Browsing by Author "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ"
Now showing
1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
-
Itemแนะนำหนังสือ : ตุลา- ตุลา สังคม-รัฐไทยกับความรุนแรงทางการเมือง [DS575.35 ต74 2556]( 2023-10-06) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ6 ตุลา อาชญากรรมทั้งของรัฐและโดยรัฐ ตลอดทั้งยังปลุกเร้าให้คนไทยบางกลุ่มบางเหล่าเข้าร่วมปฏิบัติการในหลากหลายระดับ เหตุการณ์ที่สะท้อนด้านมืดของสังคมไทยที่ชัดเจนที่สุด ความรุนแรงที่ส่งผ่านมาหลายทศวรรษ ถ้าเราปราศจากซึ่งความเข้าใจ “กลไก” ของความรุนแรงทางการเมืองนี้ ก็จะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสร้างระบบป้องกันความรุนแรงมิให้เกิดขึ้นอีก อ่านเรื่องราวได้จาก 4 เล่มนี้ เลขเรียกหนังสือ DS 575.35 ต74 2556 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 แม้จะเป็นสองเหตุการณ์ เป็นประวัติศาสตร์เฉพาะเรื่อง แต่มันคือเรื่องราวที่ต่อเนื่องทาง “ประวัติศาสตร์ช่วงยาว” ไม่เพียงแต่ในสถานะประวัติศาสตร์ไทย แต่ในสถานะในศตวรรษแห่งความรุนแรงของประวัติศาสตร์โลก
-
Itemแนะนำหนังสือ: พฤษภา - พฤษภา สังคม - รัฐไทย กับความรุนแรงทางการเมือง (เลขเรียกหนังสือ DS586.2 พ454 2556)( 2024-05-15) ชาญวิทย์ เกษตรศิริหนังสือ พฤษภา - พฤษภา สังคม - รัฐไทย กับความรุนแรงทางการเมือง (เลขเรียกหนังสือ DS586.2 พ454 2556) เป็นหนังสือทีรวบรวมเรื่องราวความรุนแรงทางการเมือง ที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในช่วงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ซึ่งทั้ง 2 ช่วงเวลาต่างมีการชุมนุมทางการเมืองจนนำมาสู่ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ผลกระทบที่ตามมาก็คือการบาดเจ็บและล้มตายของประชาชน แน่นอนว่าเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวได้กลายเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลของสังคมไทย แต่ก็เป็นบททดสอบการเรียนรู้ของสังคมไทยต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน “ในแง่ของวิชาประวัติศาสตร์ สิ่งที่เรียกว่าอดีต คือสิ่งที่เราต้องรู้จักเรียนรู้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับอนาคต ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่เราต้องจดจำ โดยที่เราเกือบไม่รู้ตัวว่า ประวัติศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่เราลืม หรือทำให้ถูกลืม”
-
Itemแนะนำหนังสือ:จาก 14 ถึง 6 ตุลาและทองปาน[DS 575.35 จ 63 2549]( 2022-10-06) ชาญวิทย์ เกษตรศิริเลขเรียกหนังสือ DS 575.35 จ 63 2549 บันทึกประวัติศาสตร์สังเขปของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 กับสารคดีจำลองจากชีวิตจริงของทองปาน ชาวนายากจนในอีสานที่ทั้งลูกและเมียถูกบีบบังคับให้ต้องทิ้งที่นาซ้ำสอง ด้วยข้ออ้าง “จำยอม” ของการสร้างเขื่อน เพื่อการพัฒนา “กระแสหลัก”