แนะนำหนังสือ : ศิลปะ-สถาปัตยกรรม คณะราษฎร [NA1521 .ช647 2552]

File type
application/pdf
Date
2021-10-28
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Citation
Rights
Licensed rights
Other title(s)
Editor(s)
Other contributor(s)
Abstract
ตุลาคม เป็นในเดือนที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในอดีต นอกเหนือจากเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางการเมืองแล้ว นายกบแดงอยากชวนอ่านหนังสือที่พูดถึงสถาปัตยกรรมที่ซ่อนความเป็นการเมืองไว้ ที่ถูกผู้คนหลงลืมตลอดหลายปีที่ผ่านมา หลังหมดยุคของคณะราษฎร ซึ่งถูกมองข้ามว่าไม่สวยงาม ไร้ค่าคุณค่า และหลายสถานที่ถูกดัดแปลงรื้อถอนในที่สุด หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในช่วง พ.ศ. 2475-2490 กล่าวถึงการใช้สถาปัตยกรรมในการแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงที่มีการเฉลิมฉลองพระนครครบ 150 ปี ที่มีการสร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอันสำคัญ เช่น สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอนุสาวรีย์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ ที่ผู้เขียนได้ตีความว่า “งานฉลองพระนครครั้งนั้น ในเชิงการเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความคิดทางการเมืองของรัชกาลที่ 7 และกลุ่มเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ภายใต้บริบททางสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างการรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับการเรียกร้องระบบประชาธิปไตยที่กำลังท้าทายชนชั้นนำสยามขณะนั้นมากขึ้นทุกทีๆ” หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งปัจจุบันจะไม่มี การจัดขึ้นแล้ว แต่ถือได้ว่าเป็นงานฉลองระบบการปกครองที่ยิ่งใหญ่ โดยมิใช่จัดเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่ซ่อนสัญลักษณ์ทางการเมืองไว้ ผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่อยู่ในงาน ทั้งซุ้มประตูทางเข้างาน อาคาร ห้างร้าน ที่สร้างในรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ดูทันสมัยและแปลกตา เสมือนได้ก้าวเข้าสู่บ้านเมืองยุคใหม่ที่เจริญก้าวหน้าภายใต้สัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญ และหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร เนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้นำเสนอและเขียนให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างสถาปัตยกรรมที่แอบซ่อนความหมายทางการเมืองไว้ ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายทศวรรษได้ถูกมองข้ามไป หากผู้อ่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อห้องคลังความรู้ เพื่อสมัครสมาชิก และรับบริการยืมอ่านได้ที่ห้องคลังความรู้เลยครับ
Table of contents
Description
ลงใน FB museum siam : วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564
Sponsorship
Keywords
Subject(s)
Youtube